การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ความหมายของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระทำต่างๆเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจในการอ่าน พยายามพัฒนาการอ่านของตนจนถึงระดับอ่านเป็น และอ่านจนเป็นนิสัย
ประโยชน์ของจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เพื่อให้นักเรียนรักการอ่าน และเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือให้แก่นักเรียน
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้และความเพลิดเพลินจากการอ่านและการศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ และความสนใจของตนเองในยามว่าง
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอเมื่อเติบโตเป็นผู้ให้
บทบาทของผู้ปกครองต่อการส่งเสริมการอ่าน
บ้านเป็นสถานที่แรกที่จะปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ผู้ปกครองอันมีพ่อแม่ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด คงจะต้องร่วมกันหาวิธีส่งเสริมและพัฒนาการอ่านด้วยวิธีการดังนี้- พ่อแม่จะต้องมีนิสัยรักการอ่านเป็นต้นแบบที่สำคัญที่จะทำให้ลูกรักการอ่าน ด้วยการอ่านหนังสือเล่มเดียวกับลูก มีการนำเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มที่อ่านมาพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์คุณค่าของหนังสือ เป็นการฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ในการอ่านของเด็กได้เป็นอย่างดี
- จัดบรรยากาศภายในบ้านให้เหมาะแก่การอ่าน ด้วยการจัดมุมสบายๆ มีหนังสืออ่านหลากหลาย มีทีอ่านอย่างเหมาะสม เป็นที่พักผ่อนได้อีด้วย
- หมั่นสำรวจว่าลูกๆชอบอ่านหนังสืออะไร ประเภทใด ก็ควรจัดหาหนังสือประเภทนั้นให้ลูกอ่าน พ่อแม่ควรเป็นที่ปรึกษาแนะนำในการอ่าน อีกทั้งเลือกหนังสือที่ส่งเสริมความรู้ หลากหลายสาระไว้ให้ลูกอ่านอย่างเพียงพอ
- หมั่นพาลูกๆไปร้านหนังสือ เปิดโอกาสให้ลูกๆได้เลือกหนังสือที่ตนชอบและสนใจ
- การให้ของขวัญกับลูกๆ ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก หรือเมื่อลูกทำความดีที่ควรแก่การชมเชย ควรจะให้ของขวัญเป็นหนังสือที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
- อาสาพาลูกๆไปห้องสมุดหรือร้านหนังสือบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชนหรือร้านหนังสือที่อยู่ใกล้ๆบ้าน เพื่อฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการใช้ห้องสมุด การเลือกหนังสือ รู้วิธีค้นหาความรู้ และรู้แหล่งความรู้เพิ่มขึ้น
ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต้องอาศัยความร่วมมือ
การสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กไทยเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมอย่างต่อเนื่องไม่ควรอาศัยเพียงการจัดงานมหกรรมนักอ่าน หรือสัปดาห์หนังสือเท่านั้น แม้ว่าการจัดงานในลักษณะดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการอ่านหนังสือได้ในระดับหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กไทยด้วยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในแบบภาพ/ตัวอักษรนิ่งและแบบเคลื่อนไหวการอ่านฝึกการคิดจินตนาการ การอ่านเป็นการสื่อภาษาด้วยตัวหนังสือทำให้ต้องมีการแปลเป็นภาพ เป็นการบริหารสมอง เพราะต้องมีการใช้ความคิด จินตนาการ ตามสิ่งที่ผู้เขียนได้สื่อออกมา อันจะช่วยก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อสิ่งที่ได้อ่าน
การอ่านฝึกการคิดอย่างมีระบบ การอ่านเป็นการเรียนรู้คำต่างๆ ทำให้มีการจัดระเบียบความคิด และการพัฒนาความคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล การอ่านจะช่วยให้เด็กมีระบบความคิดที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในด้านการสื่อสารของเด็ก เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดด้านการพูดและการเขียนออกมาได้อย่างเป็นระบบ และในด้านการกระทำที่เป็นระบบระเบียบ
การอ่านฝึกสมาธิ การอ่านช่วยให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือได้เป็นเวลานานซึ่งจะช่วยฝึกให้เด็กมีสมาธิและมีความอดทนในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
การอ่านฝึกทักษะการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น เด็กจำเป็นต้องได้รับความรู้จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความารู้ให้ลึกซึ้งสมกับวัยที่เติบโตขึ้น เนื่องจากการอ่านยังคงเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่ทรงพลัง ข้อมูลความรู้ที่เก็บอยู่ในรู)ตัวอักษรนั้น ยังคงเป็นรูปแบบเดียวที่มีจำนวนมากที่สุด และลึกซึ้งมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราต่างๆ นับเป็นแหล่งขุนทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาตนเอง
ในสมัยที่เทคโนโลยีมีอิทธิพลดึงดูดเด็กๆ ได้มากกว่าการอ่านหนังสือ เช่น รายงานโทรทัศน์ เกมคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้เข้าสู่ทุกหลังคาเรือน กระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ควรเป็นผู้ที่ทำการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแต่เพียงผู้เดียว แต่ควรร่วมมือกับสถานบันศึกษา และสถาบันครอบครัวด้วย เนื่องจากทั้ง 2 สถาบันมีความใกล้ชิดเด็กมากที่สุด
สาเหตุที่เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ
- โรงเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรค้นหาว่า เหตุใดเด็กจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจในตัวเด็ก และแก้ปัญญาได้ถูกต้อง โดยอาจใช้วิธีการสังเกต เด็กในระหว่างที่อยู่โรงเรียน หรือในระหว่างอยู่ที่บ้าน โดยสังเกตว่าเด็กมักใช้เวลาหมดไปกับการทำอะไร สังเกตดูการอ่านของเด็กว่ามีปัญหาหรือไม่ รวมถึงสังเกตสภาพแวดล้อมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านว่ามีผลต่อการอ่านของเด็กหรือไม่ อาทิ
- เด็กมีปัญหาการอ่านหรือไม่ ระหว่างที่เด็กเรียนในโรงเรียน ครูผู้สอนอาจให้เด็กอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง หรือให้เด็กเขียนแสดงความคิดเห็นสั้นๆ เพื่อสังเกตว่าเด็กมีทักษะการอ่านและการเขียนดีเพียงใด และในระหว่างที่อยู่ที่บ้าน พ่อแม่ควรสละเวลาเพื่อมานั่งดูเด็กทำการบ้าน หรือให้เด็กอ่านหนังสือให้ฟัง หากพบว่าเด็กสะกดคำใดไม่ถูก ไม่สามารถอ่านบางคำได้ ควรรีบแก้ไขโดยด่วน ในโรงเรียนอาจจัดช่วงพิเศษสำหรับเด็กที่ปัญหาการอ่านและการเขียนเพื่อสอนเด็กเพิ่มเติม ที่บ้านพ่อแม่อาจให้เวลาในการสอนลูกเพิ่มเติม หรือจ้างครูพิเศษมาสอน
- เด็กสมาธิสั้นหรือไม่ เด็กที่มีสมาธิสั้นเป็นเด็กที่ไม่สามารถจดจำทำสิ่งใดได้นานๆ เปลี่ยนพฤติกรรมบ่อย ทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับการอ่านหนังสือได้ ครูผู้สอนและพ่อแม่ควรสังเกตว่าการที่เด็กสมาธิสั้นมาจากสาเหตุใด หากเกิดจากมีสิ่งที่รบกวนระหว่างที่เด็กเรียน เช่น เสียงดัง อ่านหนังสือในห้องที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจ เป็นต้น หรือหากพบว่าการที่เด็กสมาธิสั้นนั้นเกิดจากอาการออทิสติกควรรีบนำไปพบแพทย์
- เด็กติดสื่อเทคโนโลยีมากน้อยเพียงใด ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรสอบถามเด็กโดยตรงว่า หากให้เลือกระหว่างการอ่านหนังสือกับการดูโททัศน์ เล่นเกม แซต หรือ MSN กับเพื่อน จะเลือกทำอะไรก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ก็เพื่อสำรวจดูว่าเด็กให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือมากน้อยเพียงใด หากมีแนวโน้มว่าเด็กเลือกอ่านหนังสือเป็นอันดับรองลงมา หรืออันดับสุดท้าย นั่นแสดงว่าเด็กอาจมีปัญหาในการอ่าน
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือไม่ ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรสังเกตว่าสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนหรือที่บ้านมีผลทำให้เด็กไม่อยากอ่านหนังสือหรือไม่ เช่น ห้องสมุดโรงเรียนมืด เหม็นอับ เด็กนักเรียนคุยกันในห้องสมุด เด็กต้องทำการบ้าน/อ่านหนังสืออยู่ห้องเดียวกับห้องดูโทรทัศน์ หรือภายในบ้านมีคนพลุกพล่านตลอดเวลา เป็นต้น เพื่อนำมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือของเด็ก
แก้ปัญหาด้วยความรักและความเข้าใจ
ไม่ว่าเด็กจะชอบอ่านหนังสือหรือไม่ก็ตาม การแก้ไขปัญหาควรเริ่มต้นที่ความรักความเข้าใจ และตามมาด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเหลือ ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรตำหนิ ต่อว่า หรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ข่มขู่ หรือลงโทษ เพราะนอกจะไม่ช่วยให้เด็กรักการอ่านแล้ว ยังอาจเป็นการเร่งให้เขายิ่งเกลียดการอ่านมากขึ้น ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรทำสิ่งต่อไปนี้เปิดอกคุยกันกับเด็กถึงปัญหาการอ่าน ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็ก เพื่อเปลี่ยนความคิดของเด็กให้เห็นความสำคัญของการอ่าน โดยในระหว่างการพูดคุยควรทำให้เด็กสัมผัสถึงความรักและความปรารถนาดีต่อเขา ไม่ใช่เรียกมาเพื่อต่อว่า อาจเริ่มต้นโดยการถามเด็กว่าเหตุใดจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ จากนั้นเราจึงค่อยๆ สื่อสารให้เด็กเห็นความสำคัญของการอ่านที่จะมีผลดีต่อชีวิตของเขาในอนาคต โดยอาจถามถึงเป้าหมายในอนาคตว่าเขาอยากเป็นอะไร และชี้ให้เขาเห็นว่า การที่เขาจะไปสู่เป้าหมายได้นั้นเขาจำเป็นต้องรักการอ่าน ที่สำคัญควรให้กำลังใจ และเชื่อมั่นว่าเด็กทำได้ เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเองและมีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เปิดโอกาสให้เด็กหาแนวทางที่ช่วยส่งเสริมการอ่าน เมื่อเด็กเริ่มเห็นคุณค่าของการอ่านแล้ว ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กหาวิธีการที่จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของตนให้ดีขึ้น เช่น ให้เด็กเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดห้องสมุดหรือห้องอ่านหนังสือภายในบ้านที่เหมาะสมต่อการอ่านหนังสือในรูปแบบที่เด็กชอบ สอนให้เด็กตั้งเวลาสำหรับการอ่านอย่างเจาะจงในแต่ละวัน
ปรับปรุงรูปแบบและให้รางวัลจูงใจ การเปลี่ยนให้เด็กรักการอ่านนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เด็กอาจเบื่อหน่ายและอาจอยากกลับมาเป็นเหมือนเดิม ดังนั้นครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรปรับเปลี่ยนหรือหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมการอ่านของเด็กอยู่เสมอ เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
การจัดกรรมส่งเสริมการอ่านให้มีประสิทธิภาพควรมีการเตรียมพร้อมและคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้- จัดห้องสมุด สำหรับให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่านและได้ใกล้ชิดกับหนังสือมาก ยิ่งขึ้น เช่น จัดนิทรรศการหนังสือในโอกาสต่างๆจัดกิจกรรมเพื่อชวนให้อ่านหนังสือสม่ำเสมอ ฯลฯ
- ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรมีการศึกษา เตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ต้องเป็นกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความสามารถของผู้เรียน รวมทั้งมีความหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
- ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการอ่านของนักเรียนรายบุคคล เพื่อที่จะจัดกิจกรรมสนองกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนได้ อย่างเหมาะสม
- ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หากนำตัวอย่างจากเอกสารฉบับนี้ไปใช้ ควรปรับปรุงหรือดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้กิจกรรมดูน่าสนใจแปลกใหม่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
- นอกจากโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้แก่นักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
กิจกรรมเสนอแนะ
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นับว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยให้การมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็นแรงจูงใจ ให้ผู้อ่านได้อ่านอย่างมีความสุข ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนั้นมักมีกิจกรรมที่คล้ายกันหรือซ้ำกัน อาจสรุปประเภทของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้ดังนี้1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเน้นทักษะการอ่าน
- เล่านิทาน
- เชิดหุ่น
- Reading Rally ว่างจากงาน อ่านทุกคน
- แข่งขันตอบปัญหา
- ห้องสมุดเคลื่อนที่
- ค่ายการอ่าน
- แข่งขันตอบคำถามสารานุกรม
- ยอดนักอ่าน ฯลฯ
- เสียงตามสาย
- วันสำคัญ
- อ่านหนังสือสู่ชุมชน
- แหล่งความรู้ในท้องถิ่น
- นิทรรศการ ฯลฯ
- คลินิกหมอน้อย
- พี่ช่วยน้อง
- ให้ความรู้การใช้ห้องสมุด
- แข่งขันเปิดพจนานุกรม ฯลฯ
- หนูน้อยนักล่า
- เล่าเรื่องจากภาพ
- จากบทเพลงสู่งานเขียน
- โต้วาที
- เรียงความยุวทูตความดี ฯลฯ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
- http://www.gotoknow.org/posts/272085
- http://librarytest.spu.ac.th
- ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การศึกษาวันนี้ ปีที่ 7 ฉบับที่334 วันที่ 24 – 31 พฤษภาคม 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น