เกี่ยวกับห้องสมุด

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ


ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ข้อมูลทั่วไป

ในปี พ.ศ. 2538  รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เป็นปีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ดังนั้น  เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล  อำเภอบางระกำร่วมกับพ่อค้าและประชาชน ได้จัดหาเงินสมทบสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ  จำนวน  250,000 บาท  และกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้อนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 826,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,076,000 บาท  โดยขอใช้ที่ดินสุขาภิบาลอำเภอบางระกำในการจัดสร้าง

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ เริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2530  เป็นต้นมา

ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนได้ย้ายที่ทำการ มาเปิดให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป  ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางระกำ (อาคารตึกช้าง) เลขที่ 191/4 หมู่ที่ 7 ถนนพิษณุโลก – กำแพงเพชร ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก  รหัสไปรษณีย์ 65140


วิสัยทัศน์

  ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ  เป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิชาที่หลากหลาย  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย  มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บริการอย่างทั่วถึง  นำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต  


พันธกิจ

  1. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง
  2. ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้ประชาชนในชุมชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
  3. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้
  4. ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  5. จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่สนองต่อนโยบายและตรงตามใจผู้รับบริการ
  6. จัดกิจกรรมแบบเชิงรุก เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน


ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

  1. จัดทำแผนปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ
  2. จัดให้มีคณะดำเนินงานกิจกรรมโครงการ 
  3. จัดโครงการ/กิจกรรมและการบริการแบบเชิงรุก 
  4. พัฒนาคุณภาพงานของห้องสมุดที่มีประโยชน์และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ 
  5. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศภายใต้นโยบายของสำนักงาน กศน.และการเสนอแนะของผู้ใช้บริการ 
  6. ศึกษาและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง 
  7. สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและความรู้ด้านอื่นๆเป็นระยะ 
  8. จัดทำสรุปผลการปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชนอำเภอโพธิ์ประทับช้าง เพื่อการพัฒนางานในครั้งต่อไป


ทิศทางการดำเนินงาน

           นโยบายห้องสมุด ๓ ดี ของกระทรวงศึกษาธิการ เสริมให้การดำเนินงานห้องสมุดประชาชนในสังกัด สามารถขับเคลื่อนนโยบายห้องสมุด ๓ ดี ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม นโยบายห้องสมุด ๓ ดี คือ มีหนังสือดี บรรยากาศดี และมีบรรณารักษ์ดี เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งคำว่า ห้องสมุด ๓ ดี จะต้องประกอบด้วย




บริการต่างๆ ของห้องสมุด

  1. บริการยืม-คืน ผู้รับบริการสามารถใช้บริการยืม-คืน ด้วยบัตรสมาชิกห้องสมุด
  2. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เป็นบริการที่บรรณารักษ์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการ ในกรณีที่ผู้ใช้มีปัญหาในการค้นคว้าข้อมูลต่างๆรวมถึงแนะนำวิธีใช้เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล
  3. บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล ให้บริการคำแนะนำในการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุด
  4. บริการสื่อโสตทัศนวัสดุ จัดเรียงตามลำดับเลขของสื่อแต่ละประเภท ได้แก่ แผ่นซีดี วีซีดี โดยติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับบริการ
  5. บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ให้บริการวารสารฉบับปัจจุบัน และฉบับล่วงเวลา
  6. บริการอินเตอร์เน็ต ห้องสมุดมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับบริการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
  7. บริการหนังสือ สิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ จัดเรียงแยกกันตามประเภท ได้แก่ หนังสือทั่วไป นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็กและเยาวชน โดยจัดเรียงไว้ในระบบชั้นเปิดตามระบบทศนิยมดิวอี้


ระเบียบการยืม

  1. ควรแสดงบัตรสมาชิกทุกครั้งที่มีการยืม-คืน 
  2. ควรยืมหนังสือและสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (เวลาส่งคืนให้ผู้อื่นส่งแทนได้) 
  3. สามารถยืมหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ได้ครั้งละไม่เกิน 3 เล่ม/ 3 ชิ้น เป็นเวลา ๗ วัน 
  4. หากคืนหนังสือและสื่อการเรียนรู้เกินกำหนด (ปรับวันละ ๑ บาท/ ๑ ชิ้น) 
  5. ควรรักษาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ให้อยู่สภาพดีดั่งเดิม (หากชำรุดหรือสูญหาย ปรับ ๒ เท่าของราคาหนังสือละสื่อการเรียนรู้นั้นๆ) 
  6. หนังสืออ้างอิงและวารสารฉบับปัจจุบัน (งดบริการยืมออกห้องสมุด)

ไม่มีความคิดเห็น: