วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
Pop Up ง่ายๆ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
D.I.Y....Pop Up
ป๊อปอัพ คือ เทคนิคการตัดและพับที่ใช้ตกแต่งการ์ด หรือ หนังสือนิทาน ทำให้เมื่อเปิดหน้านั้นออกมา จะเห็นเป็นรูปทรงต่างๆ เด้งขึ้นมา โดยสามารถเห็นรูปทรงนั้นๆ ได้สามมิติ หรือรอบทิศเลย แต่สิ่งที่ทำให้ป๊อปอัพมีเสน่ห์อันน่ามหัศจรรย์ก็คือ เมื่อเราปิดหน้านั้นลง ก็กลับมาเป็นการ์ดหรือหนังสือเรียบๆ เหมือนเดิม..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/297331
&วัสดุ และ อุปกรณ์
- กระดาษการ์ดสีตามต้องการ
- แผ่นรองตัด
- คัตเตอร์, กรรไกร
- ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
- กาวยู้ฮู, กาวลาเทกซ์ TOA
- กระดาษตกแต่ง
- สีไม้, สีเมจิก
&วิธีทำ
1. เตรียมกระดาษการ์ดขนาดตามต้องการ พับครึ่งกระดาษ
ประวัติพระเจ้าเสือ
พระราชประวัติสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8
(สมเด็จพระเจ้าเสือ)พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29
แห่งอาณาจักรอยุธยาและเป็นพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
**********************
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
จุลศักราช 1023 ปีฉลูตรีศก (พ.ศ.2204) ขณะนั้น เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ป่วยลง
และถึงแก่อนิจกรรม และทรงพระกรุณาพระราชทานฌาปนกิจตามอย่างเสนาบดีเสร็จแล้ว
สมเด็จพระนารายณ์ จึงมีพระราชโองการตรัสปรึกษาข้าราชการทั้งหลายว่า พระยาแสนหลวง
เจ้าผู้ครอบนครเชียงใหม่ ได้แข็งเมืองต่อเรา จะต้องไปตีเอาเชียงใหม่มาให้
จึงโปรดให้พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ผู้น้องโกษาธิบดี (เหล็ก)
เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และได้ชัยชนะ ครั้งนั้นได้จับพระยาแสนหลวง เจ้าเมือง
บุตรภรรยา ญาติวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ลาวทั้งหลายเข้ามาถวายสมเด็จพระนารายณ์
ในครั้งนั้น บุตรเจ้าเมือง เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พระนางกุสาวดี เดิมมีพระนามว่า เจ้านางกุลธิดา)
ได้ถูกนำตัวมาถวายเป็นบาทบริจาริกาแก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ต่อมาได้พระราชทานนางให้กับพระเพทราชา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมข้าง
เป็นชาวบ้านพลูหลวงแขวงเมืองสุพรรณบุรีรับเอาไปเลี้ยงไว้ที่บ้าน
ซึ่งขณะนั้นพระนางได้ทรงครรภ์กับสมเด็จพระนารายณ์แล้ว
ครั้นถึงปีขาล จุลศักราช 1024 (พ.ศ.2205) สมเด็จพระนารายณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระชินราช พระชินสีห์ ที่เมืองพิษณุโลก พระเทพราชาก็พาพระนางกุสาวดีได้ตามเสด็จไปด้วย ซึ่งขณะนั้นได้ตั้งครรภ์แก่ และนางก็ประสูติบุตรชาย พระเพทราชาได้ตั้งชื่อว่า เจ้าเดื่อ และได้เลี้ยงจนเจริญวัย เจ้าเดื่อคิดว่าพระเพทราชารเป็นบิดา ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ได้ฝึกฝนวิชามวยไทยในพระราชสำนัก และได้ออกไปฝึกมวยไทยในสำนักมวยต่างๆ อีกหลายสำนัก จนฝีมือดีเยี่ยม เมื่อเติบใหญ่จึงได้นำตัวไปถวายเป็นมหาดเล็ก พระยศ คือ ขุนหลวงสรศักดิ์ สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระนารายณ์ ทรงมีพระราชดำริจะใคร่ให้เจ้าเดื่อรู้ตัวว่าเป็นพระเจ้าลูกเธอ โดยใช้พระราชอุบายให้ขุนหลวงสรศักดิ์ส่องกระจกร่วมกัน ซึ่งรูปทั้งสองอันปรากฏในกระจกนั้น มีร่างหน้าตาคล้ายคลึงกันทำให้รู้ตัวว่าเป็นพระเจ้าลูกเธอ ตั้งแต่นั้นมา
ในปีจุลศักราช
1044 (พ.ศ.2225) สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต
พระเพทราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
และทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ขุนหลวงสรศักดิ์ เป็นพระบรมโอรสาธิราช
พระยศที่กรมพระราชวังบวรมงคลสถานเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
ในจุลศักราช
1065 (พ.ศ.2245) พระเพทราชา ได้เสด็จสวรรคตแล้ววันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1703
ซึ่งตรงกับวันเสาร์ เดือน 4 ข้าราชการผู้น้อยและผู้ใหญ่ ทั้งฝ่ายทหารพลเรือน
และพระสงฆ์ราชาคณะ ได้ประชุมพร้อมกัน ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท
อัญเชิญกรมพระราชวังบวรคงคลสถานเสด็จขึ้นราชาภิเษก
เป็นเอกอัครบรมราชธิบดินทรปิ่นพิภพจบสกลราชสีมา
เสวยมไหสุริยศวรรยาธิปัตต์ถวัลย์ราชสมบัติตามประเพณีสืบศรีสุริยวงศ์
ดำรงราชอาณาจักรกรุงเทพมหานครทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์
อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน
แล้วถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์สำหรับพระมหากษัตริย์ธิราชเจ้าและการพระราชพิธีทั้งปวงนั้น
พร้อมตามอย่างโบราณราชประเพณีเสร็จสิ้นทุกประการ
และขณะนั้นเมื่อพระองค์เสด็จเสวยราชสมบัตินั้นพระชนม์ได้สามสิบหกพรรษา ฯลฯ
ดำริถึงภูมิชาติ สมเด็จพระเจ้าเสือ
จุลศักราชได้ 1063
ปีเถาะ เอกศก (พ.ศ.2242)
สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชดำริถึงภูมิชาติแห่งพระองค์ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวงตรัสบอกไว้แต่ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นว่า
เมื่อศักราช 1024 ปีขาล อัฐศก (พ.ศ.2205) ในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการ
พระพุทธปฏิมากรพระชินราช พระชินสีห์ ณ เมืองพิษณุโลก
ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพถวายพุทธสมโภชน์คำรบ 3 วัน
ครั้งนั้นได้พาเอาสมเด็จพระพันปีหลวงตามเสด็จขึ้นไปด้วย
ขณะนั้นสมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระครรภ์แก่ จึงประสูตรพระองค์ที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง
แขวงเมืองพิจิตรในเดือนอ้าย ปีขาล อัฐศก แล้วจึงเอารกที่สหชาตินั้นใส่ลงในผอบเงิน
เอาไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์ประทับช้าง และต้นมะเดื่ออุทุมพรต่อกันนั้น
เหตุนั้นจึงได้นามกรชื่อ มะเดื่อ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริระลึกถึงที่ภูมิชาติอันพระองค์ประสูติ
ณ แขวงหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นที่มหามงคลถานอันประเสริฐ
สมควรจะสร้างขึ้นเป็นพระอารามจึงมีพระราชดำรัสสั่งสมุหนายกให้เกณฑ์กันขึ้นไปสร้างพระอาราม
ณ ตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง มีพระอุโบสถ วิหาร มหาธาติเจดีย์ ศาลาการเปรียญและกุฏิสงฆ์พร้อมเสด็จ
และสร้างพระอารามนั้นสองปีเศษ จึงจะสำเร็จ ในปีมะเส็ง ตรีศก
สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จด้วยพระชลวิมานโดยกระบวนนายาพยุห
ขึ้นไปพระอารามตำบลโพธิ์ประทับช้าง และท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท
ซึ่งขึ้นไปคอยรับเสด็จโดยสถลมารคนั้นก็เป็นอันมาก แล้วทรงพระกรุณาให้มีการฉลอง
และมีการมหรสพคำรบสามวัน ทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆ์เป็นอันมาก และทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้างพระไว้สำหรับอุปฐากพระอาราม
200 ครัว และถวายพระอัลปนาขึ้นแก่พระอารามตามธรรมเนียมแล้วทรงพระกรุณาตั้งเจ้าอธิการ
ชื่อ พระครูธรรมรูจีราชมุนีอยู่ครองพระอาราม
ถวายเครื่องสมณบริขารตามศักดิ์พระราชาคณะแล้วเสร็จ ก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร
จำเดิมแต่นั้นมา พระอารามนั้นก็เรียกว่า วัดโพธิ์ประทับช้าง มาตราบเท่าทุกวันนี้
สมเด็จพระเจ้าเสือทรงชกมวยที่บ้านตลาดกรวด
ในปีจุลศักราช
1064 ปีมะเมีย จัตวาศก (ตรงกับ พ.ศ.2245 ไม่ปรากฏวัน เดือน อยู่มาวันหนึ่ง
พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออก ณ ท้องพระโรง
จึงมีพระราชโองการตรัสถามข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงว่า
ข้างประจันตชนบทประเทศบ้านนอก เขามีการมหรสพงานใหญ่ที่ไหนบ้าง
ขณะนั้นข้าราชการผู้มีชื่อคนหนึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้าว่า
ณ บ้านประจันตชนบท แขวงเมืองวิเศษชัยชาญเพลาพรุ่งนี้
ชาวบ้านทำการฉลองพระอารามมีการมหรสพงานใหญ่ จึงมีพระราชดำรัสว่า
แต่เราเป็นเจ้ามาช้านาน มิได้เล่นมวยปล้ำบ้างเลย
แลมือก็หนักเหนื่อยเลื่อยล่าช้าอ่อนไป เพลาพรุ่งนี้เราจะไปสนุกชกมวยลองฝีมือให้สบายใจสักหน่อยหนึ่งเถิด
ขณะนั้น พอเจ้างานให้เปรียบมวย
จึงมีพระราชดำรัสใช้ข้าหลวงไปบอกแก่ผู้เป็นนายสนามว่า บัดนี้
มวยในกรุงออกมาคนหนึ่ง จะเข้ามาเปรียบคู่ชกมวยในสนามท่าน
และนายสนามไดยินดังนั้นก็ดีใจ จึงว่าให้เข้ามาเปรียบคู่ พระองค์ จึงเข้าไปในสนาม และนายสนามก็จัดหาคนมวยมีฝีมือจะมาให้เปรียบคู่
เหล่าข้าหลวงจึงห้ามว่า อย่าเอาเข้ามาเปรียบเลยเราเห็นตัวแล้ว จึงให้แต่งตัว
นายสนามจึงให้แต่งตัว แต่เมื่อแต่งตัว ทั้งสองฝ่ายแล้ว
นายสนามก็ให้ชกกันในกลางสนาม
สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและคนมวยนั้นก็เข้าชกซึ่งกันและกน และฝีมือทั้งสองนั้นดีทัดกันพอแลกลำกันได้
มิได้เพลี่ยงพล้ำกันและกำลังนั้นพอก้ำกึ่งกันอยู่
และคนทั้งหลายซึ่งดูนั้นก็สรรเสริญฝีมือทั้งสองฝ่าย และให้เสียงฮาลั่นติดๆ
กันไปทุกนัด และคนมวยผู้นั้นบุญน้อย วาสนาก็น้อย
และเข้าต่อสู้ด้วยสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้า อันประกอบด้วยบุญญาภิสังขารบารมีมาก
และกลัวบุญวาสนานั้นข่มขี่กันอยู่ ครั้นสู้กันไปได้ประมาณกึ่งยกก็หย่อนกำลังลง
และเสียทีเพลี่ยงพล้ำถูกที่สำคัญถนัด
เจ็บป่วยถึงสาหัสเป็นหลายนัดก็แพ้ด้วยบุญญานุภาพในยกน้ำ
จึงนายสนามก็ตกรางวัลให้แก่ผู้ชนะนั้นบาทหนึ่ง ให้แก่ผู้แพ้สองสลึงตามวิสัยบ้านนอก
และเหล่าข้าหลวงนั้นรับเอาเงินรางวัล
จึงดำรัสให้ข้าหลวงว่าแก่นายสนามให้จัดหาคู่เปรียบอีก
และนายสนามก็จัดหาคู่มาได้อีก แล้วก็ชกกันและคนมวยผู้นั้นทานบุญมิได้
ก็แพ้ในกึ่งยก คนทั้งหลายสรรเสริญฝีพระหัตถ์มีไปแล้ว ว่ามวยกรุงคนนี้ฝีมือดียิ่งนัก
และนายสนามก็ตกรางวัลให้เหมือนหนหลังนั้น
แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ให้ข้าหลวงคืนมาสู่เรือพระที่นั่ง ค่อยสำราญพระราชหฤทัย
เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน ตำบลบ้านตลาดกรวด ก็คือ ตำบลตลาดกรวด
ขึ้นกับอำเภอเมืองอ่างทอง และตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนบ้านประจันตชนบท
แขวงเมือวิเศษชัยชาญนั้นก็คือ หมู่บ้านชนบท ที่อยู่นอกพระนครหลวงนั่นเอง
มีผู้ให้ความเห็นว่าวัดที่เป็นพระอารารมซึ่งมีการมหรสพในสมัยนั้น
อาจจะเป็นวัดโพธิ์ถนน หรือวัดถนนก็ได้
ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นวัดร้างตั้งอยู่หลังวัดสุวรรณเสวริยารามไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว
1 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่เหลืออยู่ที่วัดนี้ก็คือ พระพุทธรูปศิลาทรายหัก
ซึ่งมีอยู่มากมาย มีผู้นำเศียรและองค์พระหักมาไว้ที่วัดสุวรรณ ฯ นี้หลายองค์
วัดนี้เดิมคงอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อดินงอกออกไป
จึงทำให้เหมือนว่าวัดนี้ตั้งอยู่กลางทุ่งนาไป และทำให้เป็นวัดร้างในที่สุด
ประวัติการสร้างศาลพระเจ้าเสือ ต.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
ใครสร้างศาลพระเจ้าเสือ…(สมเด็จพระสรรเพชญที่๘)
วันนี้ก็ไปพบข้อมูลเก่า ที่เก็บไว้...เป็นจุลสารอนุสรณ์ในงานเปิดศาล พระเจ้าเสือหรือสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๑๘ )ที่ตั้งอยู่ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ที่ข้าพเจ้าได้เก็บและถ่ายเอกสารไว้ เมื่อคราวที่บวชเป็นพระ ในส่วนของต้นฉบับนั้นได้ส่งกลับคืน ทางวัดไปนานแล้วและไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้จะมีอยู่หรือเปล่า เพราะว่าเป็นจุลสารฉบับเล็ก ๆ ซึ่งในปีที่ข้าพเจ้าได้บวชเป็นพระ เกิดน้ำท่วมหนัก แม่น้ำยมล้นฝั่งและกระทั่งต้องพายเรือออกบิณฑบาตรเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลเก่า ๆ นั้นไม่ได้รับการเหลียวแลหรือสนใจเลย ถูกโยนลงทิ้งน้ำเป็นอันมาก มีหนังสือบางเล่ม บางส่วน ที่ข้าพเจ้าได้เก็บมาซ่อมแซม และข้าพเจ้าก็ได้ศึกษา ความรู้เกี่ยวกับธรรมะ ที่เป็นหนังสือเก่า จาก ท่าน พอ.ปิ่น มุทุกัณฑ์ ที่เป็นอธิบดีกรมการศาสนาในสมัยนั้นก็มีมากก็ไม่ได้หมายความว่า ในปัจจุบัน ข้าพเจ้าจะมีอายุมากมายเท่าใดหรอกนะ เพียงแต่ได้อ่านหนังสือเก่า ๆรุ่นนั้น ที่เหลืออยู่ให้อ่านให้ศึกษา เท่านั้นเอง กระนั้นก็ตามแม้ว่า จะเป็นจุลสารขนาดเล็ก แต่ก็นับว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความเป็นมาและการปั้นรูปปั้นพระเจ้าเสือที่ประดิษฐานอยู่ และการสร้างศาล ตั้งแต่ เมื่อครั้งปี พศ.๒๕๑๗ ก็จึงนำมาเผยแพร่ให้ได้ทราบกันหรือหากว่าท่านได้ไป จังหวัดพิจิตรละก็ อย่าลืมแวะไปอำเภอโพธิ์ประทับช้าง วัดโพธิ์ประทับช้าง เพื่อ นมัสการรูปปั้นพระเจ้าเสือ ซึ่งท่านประสูติที่นี่ ...และที่ท่านมีมหาดเล็กที่เรารู้จักกันดี คือ “พันท้ายนรสิงห์ “ นั่นเองหากท่านต้องการเก็บข้อมูลไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงก็ขอให้ สำเนาเก็บไว้ได้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป...….สำหรับข้อมูลที่ได้นำเสนอลงไปนี้ ไม่มีการตัดตอน หรือต่อเติมใดๆ ทั้งสิ้น.....ดังนี้
ใครสร้างศาลพระเจ้าเสือ ตั้งแต่ บ้านโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดพระเจ้าแผ่นดินอันทรงพระนามว่า “พระสรรเพชญที่ ๘” (พระเจ้าเสือ) ได้ทิ้งเป็นเมืองร้างมาประมาณ 200 ปีเศษ ต่อมาราวปี พศ.2485 (ปีน้ำมาก) ได้มีประชาชนบุกไปบุกร้างถางพง ทำพืชไร่ ในบริเวณโบราณสถานมากขึ้น ในปี พศ.2510 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้รับอนุมัติให้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง และทำพิธีเปิดเป็นสถานที่ราชการ เมื่อ พศ.2510 ในปีเดียวกัน นาย สัญญา ทิพานันท์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้พิจารณาเห็นว่า ที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อยู่ ห่างจากโบราณสถานและสถานที่ประสูติของพระเจ้าเสือ ประมาณ 4 กิโลเมตร ยากแก่การที่จะเบิกตัวผู้ประสงค์จะเข้าเฝ้าสักการะดวงพระวิญญ าณพระเจ้าเสือ จึงได้ร่วมกันจัดแห่เป็นกระบวนเอิกเกริก ออกไปอัญเชิญดวงพระวิญญาณของพระเจ้าเสือ มาสถิตหน้าพระลานหน้าที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ตามคำบอกเล่าของผู้ไปกับขบวนแห่ขบวนนั้น “ได้พบพญางูเหลือมตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่” นาย สัญญา ทิพานันท์ จึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ ถ้าหากดวงพระวิญญาณของพระองค์ ทรงสำแดงให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งมวลประจักษ์แก่สายตาแล้ว ขอให้สถิตบนผ้าทิพย์ และขออัญเชิญไปยังศาลซึ่งข้าพระพุทธเจ้าเตรียมรอรับเสด็จไว้ พญางูเหลือมดังกล่าวก็สถิตบนผ้าทิพย์” คณะขบวนแห่ก็อัญเชิญมาจนกระทั่งถึงศาลพระเจ้าเสือหลังเดิม และทำความชื่นชมโสมนัสให้แก่อาณาประชาราษฎร์อำเภอโพธิ์ประทับ ช้างเป็นสุด ซึ้ง ชั่ววันหนึ่งและคืนหนึ่งเรือนร่างพญางูเหลือมก็หายไป คงประจักษ์อยู่แต่ศาลเพียงตาสืบต่อกันมาเป็นเวลา 7 ปีเศษ ได้มีประชาราษฎร์ของพระองค์มาบนบานศาลกล่าวและบวงสรวงอยู่เป็ นเนืองนิตย์มิ ได้ขาด เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2516 กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้างได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหว ัดพิจิตร ทางราชการได้แต่งตั้ง นายมณฑล ปรีชาธีรศาสตร์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ จัดงานเฉลิมฉลองพระชนม์พรรษาในหลวง รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2516 ในปีนั้นเอง องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้งดการเฉลิมฉลองเนื่องจากน้ำ มันแพง คณะกรรมการจึงได้นำรายได้ที่เหลือจ่ายทั้งหมด มาสมทบทุนสร้างศาลกับทุนเดิม ซึ่ง นายสุนทร พุ่มบัว สมุห์บัญชีอำเภอรวบรวมและเก็บรักษาไว้ มอบให้ ร.ต.อ. ศิลปชัย ฉายแสง รับเป็นแม่งานดำเนินการแทนต่อไป จาก แถลงการณ์ทางวาจาของ ร.ต.อ. ศิลปะชัย ฉายแสง ต่อหน้าที่ประชุมใหญ่ว่า ตนเองขอรับที่จะสนองเบื้องยุคลบาทในดวงพระวิญญาณตามความสามาร ถ และจะพยายามจัดหาช่างสร้างศาลให้เสร็จก่อนจะย้ายไปจากอำเภอโพ ธิ์ประทับช้าง
ทุนเริ่มแรกระยะที่ 1
ทุนเดิมซึ่งได้จากสรงน้ำหลวงพ่อโต 3,634.00 บาทรายได้จากงานเฉลิม ฯ รัชกาลที่ 9 385.- บาทนายจุล นางศิระ หนูทวน บริจาค 100.- บาท ทุนเพียง 4,119.00 บาท นับได้ว่าทำความหนักใจให้กับ ร.ต.อ. ศิลปชัย ฉายแสง เป็นอย่างมาก แต่ด้วยความอุตสาหะ วิริยะ ประกอบกับความตั้งใจจริง จึงได้ให้ฝ่าย พราหมณาจารย์ ทำการตรวจฤกษ์ ดูดวงชะตา และกำหนดวันเวลา วางศิลาฤกษ์ขึ้น ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2517 เวลา 08.00 น.
ทุนดำเนินการในระยะที่ 2 หลังจากได้วางศิลาฤกษ์แล้ว เป็นอันว่าพวกเราทั้งมวลต้อง ศาลถวายแด่พระเจ้าเสือแน่ จึงมีผู้บริจาคเพิ่มเติมดังนี้
1.นายอเนก จันทร์ประเสริฐ บ้านทุ่งโพธิ์ กับร้านศรีสว่าง ตะพานหิน 1,000.00 บาท
2.จ.ส.ต.ประเทือง จุ้ยสกุลกับพวก 9,800.00 บาท
3.นายสัมพันธ์ วีระนันท์วัฒนะ ไผ่ท่าโพกลาง 5,000.00 บาท
4.นายธงชัย นุกูลกิจเสรี ไผ่ท่าโพกลาง 4,000.00 บาท5.โรงสีสหไทย ไผ่ท่าโพกลาง 2,000.00 บาท
6.ร้านจิ๊บฮะ ตลาดไผ่ท่าโพเหนือ 1000.00 บาท
7.นายเชี้ยงบุ้ง แซ่จึง ไผ่ท่าโพกลาง 1,000.00 บาท
8.นายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร 1,000.00 บาท
9.โรงสีข้าวฮะเฮง ไผ่ท่าโพกลาง 1,000.00 บาท
10.นายพยนต์ หมื่นสุวรรณ บ้านท่าบัวทอง 1,000.00 บาท
11.โรงสีท่าบัวทอง ต.โพธิ์ประทับช้าง 1,000.00 บาท
12.นายสุธีร์ ศรีเบญจโชติ ตะพานหิน 1,000.00 บาท
13.นายเซี่ยมเฮง นางกิมฮวย แซ่ตั้ง 800.00 บาท
ทุนดำเนินการระยะที่ 3
ศาลพระเจ้าเสือได้สร้างเสร็จไปแล้ว ผู้สัญจรไปมาได้แวะมาบูชาศาลอยู่เป็นเนืองนิตย์ แต่ทำความสงสัยให้แก่ผู้มาแวะชมศาลเป็นอย่างมากกว่า พระเจ้าเสือทรงมีพระสิริโฉมเป็นอย่างไร ทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในเขตบ้านโพธิ์ประทับช้างก็เล่าว่ามี “รูปร่างเหมือนพระนารายณ์มหาราช” ร.ต.อ.ศิลปชัย ฉายแสง แม่ งานต้องออกไปติดต่อ จิตรกรเอกหลายท่าน ให้มาออกแบบพระรูป จนเป็นที่ยอมรับกันว่า พระสิริโฉมดังพระรูปที่ประดิษฐ์อยู่ ณ ศาลพระเจ้าเสือแน่นอน พอได้ ศุภฤกษ์ จึงอัญเชิญพระคณาจารย์ใหญ่แห่งยุคเกจิอาจารย์ มากระทำการเชิญดวงวิญญาณเข้าสิงสถิตในดวง พระหทัย พร้อมด้วยเครื่องบัดพลีถูกต้อง ตามพระคัมภีร์ไสยศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 จากนั้นพระรูปก็ปรากฏขึ้นโดยความร่วมมือของ
1.นายพยนต์ หมื่นสุวรรณ บริจาค 1,334 บาท
2.จ.ส.ต. ประเทือง จุ้ยสกุล ” 1,333 บาท
3.นายสุธีร์ เมธาวัชรินทร์ ” 1,333 บาท
เมื่อพระรูปสำเร็จเต็มพระองค์แล้ว จึงได้นำดวงพระหทัยบรรจุในพระอุระเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2517 ณ วันนี้ถือว่าองค์พระรูปพระสรรเพชญที่ 8(พระเจ้าเสือ) ซึ่งปรากฏอยู่นี้ มีพระสิริโฉมดังพระองค์จริงทุกประการ
ใน กาลต่อมาด้วยเดชะอำนาจพระบารมี ยังผลให้อาณาประชาราษฎร์ที่เคยรำลึกถึงพระองค์ท่าน มีเจตนาแรงกล้าที่จะถวายเครื่องราชบรรณาการ ประกอบด้วย พญาเสือเหลือง อันเป็นพระราชชันษาประจำพระองค์ และช้างทรงคู่บารมีเป็นอาทิ
รายชื่อผู้อุทิศถวาย
1.นายครอบ มิ่งมณีและภรรยาถวายช้างทรงราคา 5,000.00 บาท
2.นายน้อย มิ่งมณี และภรรยาถวายพญาเสือเหลือง ราคา 2,000.00 บาท
บุคคลที่ไม่ควรลืม...?
สุเชษฐ์ พลวัน ออกแบบศาลมิใช่ย่อย เพราะเคยทำมาบ่อยจึงค่อยสมประสงค์ อู๋ จันทร์สุขวงศ์ เป็นกำนันคนตรงบ้านไผ่ท่าโพ ได้เกรดบริเวณศาล เพื่อจัดงานให้โก้เก๋ เทิ้ม เมืองทอง ช่วยไตร่ตรองมองของโชว์ จัดภาพยนตร์ดนตรีของเขาดีมิใช่โม้ แสวง ผะอบเหล็ก ใครว่าเล็กแต่ท่าน ป.โท วางแผนผังงานทุกๆด้านได้สวยโก้ เสริมศักดิ์ อิทธะรงค์ เราท่านอย่า งง คือคนไผ่ท่าโพ ผู้ปั้นรูปพระเจ้าเสือ หรือดอกเดื่อของเราชาวโพธิ์ประทับช้างเราใหญ่โต ในศาลอ่าโอ่โชว์ฝีมือ สร้อย เขียวขำ ใครว่าช้ำ ๆ แต่เนื้อ อาหารทำไม่เบื่อ ชอบช่วยเหลือเมื่อมีงาน ดาว เทียมศร ก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่า สร้อย เขียวขำ ข้าวสวย ข้าวต้ม หรือส้มตำ เป็นผู้นำในท่าบัวทอง จุล หนูทวน ไม่เรรวนทำได้ ๆไม่ว่างานอะไรเล็กหรือใหญ่ได้ทันที ทุกอย่างวางได้หรู เพราะเป็นครูมาหลายปี ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน ชอบกล่าวขาน ท่านผู้นี้ อำเภอเรามีคนดี จึงเป็นศรีแด่พระองค์ ปัญญา จูประเสริฐ ผลงานเลิศ ช่วยทางตรง เกรดบริเวณอีกสองชั่วโมง เพื่อชักโยงชนประชา ขอท่านจงมีสุขอยาได้ทุกข์เวทนา ปราศจากซึ่งโรคา จะปรารถนาสิ่งอันใด ขอจงดำรงศักดิ์ เทวาพิทักษ์รอบเรือนกาย จงสุขและสบาย พ้นอันตรายภัยทั้งปวง ประเพณี 3 เดือน
จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ บ้านโพธิ์ประทับช้าง ข้าราชการทหารและตำรวจ จนเป็นที่ยอมรับกันว่า ประเพณี 3เดือน จะขาดกันเสียมิได้
1. ในเดือน 5ทุกปี ทางตำรวจ สภ.อ. โพธิ์ประทับช้าง จะ เป็นแม่งานจัดน้ำสรง และห่มผ้าพระจากศาลพระเจ้าเสือ เข้ากระบวนแห่ไปสรงน้ำและห่มผ้าพระหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าเสือทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ในกระบวนแห่ที่เคยปรากฏ จะมีพ่อค้าประชาชนเกือบทุกตำบลไปร่วมด้วย โดยไม่ต้องนัดหมาย
2. ใน เดือน 12 หลังจากลาพรรษาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดท่าบัวทอง ร่วมกับตำรวจและทางอำเภอ จะได้จัดให้มีการแข่งเรือและประกวดการเห่เรือถวาย ณ ลำน้ำยมระหว่างวัดท่าบัวทองกับศาลพระเจ้าเสือ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระราชประวัติของพระองค์ ซึ่งทรงโปรดเรือเอกชัยไปทรงเบ็ดตั้งแต่ครั้งอดีต อันมีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้ายเรือคู่พระทัย
อภินิหารพระเจ้าเสือ สั้นๆ....
1.ดวงพะวิญญาณปาฏิหารย์ให้เห็นเป็นพญางูเหลือม และอัญเชิญ มาประดิษฐาน ณ ศาลหลังเดิม
นายสัญญา พิทานันท์ ประสบเหตุ...ฯลฯ
2.ฉายรัศมีเป็นลำแสงออกจากภาพวาดเก่าแก่ประจำบ้านพักนายอำเภอ ทอดแสงออกทางประตูด้านใต้
นาย จุล หนูทวน มาพักค้างคืน ประสบเหตุ...ฯลฯ
3.เมื่อ ฝนตกหนักคราวอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่น 969 ประธานจัดงานอธิษฐานขอให้ฝนหยุด ( ภายใน 15 นาทีแดดออกจ้า )ลงสนามจับมือร้องไห้อำลากันอย่างสบาย
นายเลิศ สันติพิทักษ์ ประสบเหตุ...ฯลฯ
4.นายจุล หนูทวน คล้องเหรียญ พระเจ้าเสือ ขับรถหักหลบคนแก่ รถตกหลุมยับเยิน คนกระเด็นออกจากรถประมาณวาครึ่ง ลุกเดินไปกินข้าวต้มได้อย่างสบาย ไม่มีบาดแผล
นายดิเรก อยู่สุข นายอเนก สังขกุล ประสบเหตุ...ฯลฯ
5.โจรปล้นที่บ้านห้วยตะพาน คณะตำรวจผู้ติดตามคนร้าย พกไปแค่ใบจองเหรียญที่พุทธาภิเษกแล้วเท่านั้น ถูกคนร้ายขว้างด้วยระเบิดมือ ระเบิดไม่แตกตำรวจปลอดภัย
ร.ต.อ.เฉลิม สังข์ทอง ประสบเหตุ
6.เด็กชายวัย 13 ขวบ บังอาจไปหยิบพวงมาลัยแก้บน ที่แขวนอยู่ที่ปลายดาบไปเล่น เกิดอาการจุกเสียด ชักตาตั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อคนแก่ให้เอาพวงมาลัยไปคืนที่เก่า ก็หายเป็นปกติไม่ต้องกินยา นายเสริมศักดิ์ อิทธะรงค์ ประสบเหตุ...ฯลฯ
7.ระหว่างดำเนินการปั้นพระรูป บันดาลให้นายช่างผู้เป็นจิตรกรถูกหวยหลายครั้ง
นายเสริมศักดิ์ อิทธะรงค์ ประสบเหตุ...ฯลฯ
8.วันมหาพุทธาภิเษกเหรียญที่ระลึก เกจิอาจารย์ชุดใหญ่แห่งเมืองพิจิตรมานั่งปรกบริกรรม ครบทุกรูป ทั้งๆที่ฝนตกติดต่อกัน 3วัน 3 คืน นับ ว่าเป็น ศิริมงคลจริง ๆ คุณไสว ประธานจุดเทียนในพิธี ท่านก็นามสกุล “ศิริมงคล” จึงบันดาลให้เหรียญพุทธาภิเษกเป็นมหามงคล ทุกคนควรมีไว้ประจำตัว
…………………………………………..
ข้อมูล หรือรายละเอียดดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลของปี ๒๕๑๘ จากจุลสาร งานเลี้ยงเปิดศาลพระเจ้าเสือหลังเดิมซึ่งในปัจจุบันนี้
หากท่านไปจะพบศาล พระเจ้าเสือหลังใหม่ แทนที่หลังเดิม ก็ได้ริเริ่มและอำนวยการโดย นายปราโมทย์ แก้ววิเชียร นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง อยู่ริมแม่น้ำยม หน้าสถานที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างมาแทนที่หลังเก่า แต่ รูปปั้นองค์ท่านนั้น ยังเป็นพระองค์เดิม และยังมีศาลกับรูปปั้นสัมฤทธิ์ ที่หน้าวัดโพธิ์ประทับช้าง ห่างออกไปอีกราว 4 กิโลเมตร
ริมแม่น้ำพิจิตรเก่า ก็มีอีกแห่งหนึ่ง ตั้งประดิษฐานอยู่ เช่นกัน ในส่วนนี้ ซึ่งประวัติพระเจ้าเสือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘......แต่จะเอ่ยในคราวถัดไป..
ในช่วงระหว่างวันที่ 23 – 31 ธันวาคม 2552 อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้จัดงานวันเทิดพระเกียรติ “พระเจ้าเสือ” ขึ้น โดยภายในงานจะจัดให้มีการแสดงตำนานพระเจ้าเสือและมีกีฬา ชกมวย และกีฬาชนไก่ รวม ถึงการแสดงสินค้าพื้นบ้านและจำลองวิถีชีวิตชาวจังหวัดพิจิ ตรในอดีตกาลขึ้น อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็น การส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และเป็นการทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณขององค์พระกษัตริย์ผู้ที ่สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาวไทย อีกด้วย โดยงานนี้จะจัดอย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้คนไทยรำลึกถึงบุญคุณของสถา บันพระมหากษัตริย์ ....ที่ถือได้ว่าเป็นหลักนำชัยให้พสกนิกรชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุข สืบตลอดมา....
ศาลสมเด็จพระเจ้าเสือ จ.พิจิตร
แผนที่และการเดินทาง
***********************
แผนที่และการเดินทาง
***********************
แหล่งที่มา:
http://student.swu.ac.th/fa471010005/
http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-sports-games-and- martial-arts/261-sport/93-----m-s https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่_8
http://www.travelphichit.com/2016/02/blog-post_2.html
http://student.swu.ac.th/fa471010005/
http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-sports-games-and- martial-arts/261-sport/93-----m-s https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่_8
http://www.travelphichit.com/2016/02/blog-post_2.html
www.oknation.net
วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ความหมายของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระทำต่างๆเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจในการอ่าน พยายามพัฒนาการอ่านของตนจนถึงระดับอ่านเป็น และอ่านจนเป็นนิสัย
ประโยชน์ของจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เพื่อให้นักเรียนรักการอ่าน และเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือให้แก่นักเรียน
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้และความเพลิดเพลินจากการอ่านและการศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ และความสนใจของตนเองในยามว่าง
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอเมื่อเติบโตเป็นผู้ให้
บทบาทของผู้ปกครองต่อการส่งเสริมการอ่าน
บ้านเป็นสถานที่แรกที่จะปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ผู้ปกครองอันมีพ่อแม่ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด คงจะต้องร่วมกันหาวิธีส่งเสริมและพัฒนาการอ่านด้วยวิธีการดังนี้- พ่อแม่จะต้องมีนิสัยรักการอ่านเป็นต้นแบบที่สำคัญที่จะทำให้ลูกรักการอ่าน ด้วยการอ่านหนังสือเล่มเดียวกับลูก มีการนำเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มที่อ่านมาพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์คุณค่าของหนังสือ เป็นการฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ในการอ่านของเด็กได้เป็นอย่างดี
- จัดบรรยากาศภายในบ้านให้เหมาะแก่การอ่าน ด้วยการจัดมุมสบายๆ มีหนังสืออ่านหลากหลาย มีทีอ่านอย่างเหมาะสม เป็นที่พักผ่อนได้อีด้วย
- หมั่นสำรวจว่าลูกๆชอบอ่านหนังสืออะไร ประเภทใด ก็ควรจัดหาหนังสือประเภทนั้นให้ลูกอ่าน พ่อแม่ควรเป็นที่ปรึกษาแนะนำในการอ่าน อีกทั้งเลือกหนังสือที่ส่งเสริมความรู้ หลากหลายสาระไว้ให้ลูกอ่านอย่างเพียงพอ
- หมั่นพาลูกๆไปร้านหนังสือ เปิดโอกาสให้ลูกๆได้เลือกหนังสือที่ตนชอบและสนใจ
- การให้ของขวัญกับลูกๆ ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก หรือเมื่อลูกทำความดีที่ควรแก่การชมเชย ควรจะให้ของขวัญเป็นหนังสือที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
- อาสาพาลูกๆไปห้องสมุดหรือร้านหนังสือบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชนหรือร้านหนังสือที่อยู่ใกล้ๆบ้าน เพื่อฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการใช้ห้องสมุด การเลือกหนังสือ รู้วิธีค้นหาความรู้ และรู้แหล่งความรู้เพิ่มขึ้น
ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต้องอาศัยความร่วมมือ
การสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กไทยเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมอย่างต่อเนื่องไม่ควรอาศัยเพียงการจัดงานมหกรรมนักอ่าน หรือสัปดาห์หนังสือเท่านั้น แม้ว่าการจัดงานในลักษณะดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการอ่านหนังสือได้ในระดับหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กไทยด้วยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในแบบภาพ/ตัวอักษรนิ่งและแบบเคลื่อนไหวการอ่านฝึกการคิดจินตนาการ การอ่านเป็นการสื่อภาษาด้วยตัวหนังสือทำให้ต้องมีการแปลเป็นภาพ เป็นการบริหารสมอง เพราะต้องมีการใช้ความคิด จินตนาการ ตามสิ่งที่ผู้เขียนได้สื่อออกมา อันจะช่วยก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อสิ่งที่ได้อ่าน
การอ่านฝึกการคิดอย่างมีระบบ การอ่านเป็นการเรียนรู้คำต่างๆ ทำให้มีการจัดระเบียบความคิด และการพัฒนาความคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล การอ่านจะช่วยให้เด็กมีระบบความคิดที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในด้านการสื่อสารของเด็ก เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดด้านการพูดและการเขียนออกมาได้อย่างเป็นระบบ และในด้านการกระทำที่เป็นระบบระเบียบ
การอ่านฝึกสมาธิ การอ่านช่วยให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือได้เป็นเวลานานซึ่งจะช่วยฝึกให้เด็กมีสมาธิและมีความอดทนในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
การอ่านฝึกทักษะการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น เด็กจำเป็นต้องได้รับความรู้จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความารู้ให้ลึกซึ้งสมกับวัยที่เติบโตขึ้น เนื่องจากการอ่านยังคงเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่ทรงพลัง ข้อมูลความรู้ที่เก็บอยู่ในรู)ตัวอักษรนั้น ยังคงเป็นรูปแบบเดียวที่มีจำนวนมากที่สุด และลึกซึ้งมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราต่างๆ นับเป็นแหล่งขุนทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาตนเอง
ในสมัยที่เทคโนโลยีมีอิทธิพลดึงดูดเด็กๆ ได้มากกว่าการอ่านหนังสือ เช่น รายงานโทรทัศน์ เกมคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้เข้าสู่ทุกหลังคาเรือน กระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ควรเป็นผู้ที่ทำการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแต่เพียงผู้เดียว แต่ควรร่วมมือกับสถานบันศึกษา และสถาบันครอบครัวด้วย เนื่องจากทั้ง 2 สถาบันมีความใกล้ชิดเด็กมากที่สุด
สาเหตุที่เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ
- โรงเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรค้นหาว่า เหตุใดเด็กจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจในตัวเด็ก และแก้ปัญญาได้ถูกต้อง โดยอาจใช้วิธีการสังเกต เด็กในระหว่างที่อยู่โรงเรียน หรือในระหว่างอยู่ที่บ้าน โดยสังเกตว่าเด็กมักใช้เวลาหมดไปกับการทำอะไร สังเกตดูการอ่านของเด็กว่ามีปัญหาหรือไม่ รวมถึงสังเกตสภาพแวดล้อมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านว่ามีผลต่อการอ่านของเด็กหรือไม่ อาทิ
- เด็กมีปัญหาการอ่านหรือไม่ ระหว่างที่เด็กเรียนในโรงเรียน ครูผู้สอนอาจให้เด็กอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง หรือให้เด็กเขียนแสดงความคิดเห็นสั้นๆ เพื่อสังเกตว่าเด็กมีทักษะการอ่านและการเขียนดีเพียงใด และในระหว่างที่อยู่ที่บ้าน พ่อแม่ควรสละเวลาเพื่อมานั่งดูเด็กทำการบ้าน หรือให้เด็กอ่านหนังสือให้ฟัง หากพบว่าเด็กสะกดคำใดไม่ถูก ไม่สามารถอ่านบางคำได้ ควรรีบแก้ไขโดยด่วน ในโรงเรียนอาจจัดช่วงพิเศษสำหรับเด็กที่ปัญหาการอ่านและการเขียนเพื่อสอนเด็กเพิ่มเติม ที่บ้านพ่อแม่อาจให้เวลาในการสอนลูกเพิ่มเติม หรือจ้างครูพิเศษมาสอน
- เด็กสมาธิสั้นหรือไม่ เด็กที่มีสมาธิสั้นเป็นเด็กที่ไม่สามารถจดจำทำสิ่งใดได้นานๆ เปลี่ยนพฤติกรรมบ่อย ทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับการอ่านหนังสือได้ ครูผู้สอนและพ่อแม่ควรสังเกตว่าการที่เด็กสมาธิสั้นมาจากสาเหตุใด หากเกิดจากมีสิ่งที่รบกวนระหว่างที่เด็กเรียน เช่น เสียงดัง อ่านหนังสือในห้องที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจ เป็นต้น หรือหากพบว่าการที่เด็กสมาธิสั้นนั้นเกิดจากอาการออทิสติกควรรีบนำไปพบแพทย์
- เด็กติดสื่อเทคโนโลยีมากน้อยเพียงใด ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรสอบถามเด็กโดยตรงว่า หากให้เลือกระหว่างการอ่านหนังสือกับการดูโททัศน์ เล่นเกม แซต หรือ MSN กับเพื่อน จะเลือกทำอะไรก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ก็เพื่อสำรวจดูว่าเด็กให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือมากน้อยเพียงใด หากมีแนวโน้มว่าเด็กเลือกอ่านหนังสือเป็นอันดับรองลงมา หรืออันดับสุดท้าย นั่นแสดงว่าเด็กอาจมีปัญหาในการอ่าน
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือไม่ ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรสังเกตว่าสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนหรือที่บ้านมีผลทำให้เด็กไม่อยากอ่านหนังสือหรือไม่ เช่น ห้องสมุดโรงเรียนมืด เหม็นอับ เด็กนักเรียนคุยกันในห้องสมุด เด็กต้องทำการบ้าน/อ่านหนังสืออยู่ห้องเดียวกับห้องดูโทรทัศน์ หรือภายในบ้านมีคนพลุกพล่านตลอดเวลา เป็นต้น เพื่อนำมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือของเด็ก
แก้ปัญหาด้วยความรักและความเข้าใจ
ไม่ว่าเด็กจะชอบอ่านหนังสือหรือไม่ก็ตาม การแก้ไขปัญหาควรเริ่มต้นที่ความรักความเข้าใจ และตามมาด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเหลือ ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรตำหนิ ต่อว่า หรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ข่มขู่ หรือลงโทษ เพราะนอกจะไม่ช่วยให้เด็กรักการอ่านแล้ว ยังอาจเป็นการเร่งให้เขายิ่งเกลียดการอ่านมากขึ้น ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรทำสิ่งต่อไปนี้เปิดอกคุยกันกับเด็กถึงปัญหาการอ่าน ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็ก เพื่อเปลี่ยนความคิดของเด็กให้เห็นความสำคัญของการอ่าน โดยในระหว่างการพูดคุยควรทำให้เด็กสัมผัสถึงความรักและความปรารถนาดีต่อเขา ไม่ใช่เรียกมาเพื่อต่อว่า อาจเริ่มต้นโดยการถามเด็กว่าเหตุใดจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ จากนั้นเราจึงค่อยๆ สื่อสารให้เด็กเห็นความสำคัญของการอ่านที่จะมีผลดีต่อชีวิตของเขาในอนาคต โดยอาจถามถึงเป้าหมายในอนาคตว่าเขาอยากเป็นอะไร และชี้ให้เขาเห็นว่า การที่เขาจะไปสู่เป้าหมายได้นั้นเขาจำเป็นต้องรักการอ่าน ที่สำคัญควรให้กำลังใจ และเชื่อมั่นว่าเด็กทำได้ เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเองและมีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เปิดโอกาสให้เด็กหาแนวทางที่ช่วยส่งเสริมการอ่าน เมื่อเด็กเริ่มเห็นคุณค่าของการอ่านแล้ว ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กหาวิธีการที่จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของตนให้ดีขึ้น เช่น ให้เด็กเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดห้องสมุดหรือห้องอ่านหนังสือภายในบ้านที่เหมาะสมต่อการอ่านหนังสือในรูปแบบที่เด็กชอบ สอนให้เด็กตั้งเวลาสำหรับการอ่านอย่างเจาะจงในแต่ละวัน
ปรับปรุงรูปแบบและให้รางวัลจูงใจ การเปลี่ยนให้เด็กรักการอ่านนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เด็กอาจเบื่อหน่ายและอาจอยากกลับมาเป็นเหมือนเดิม ดังนั้นครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรปรับเปลี่ยนหรือหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมการอ่านของเด็กอยู่เสมอ เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
การจัดกรรมส่งเสริมการอ่านให้มีประสิทธิภาพควรมีการเตรียมพร้อมและคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้- จัดห้องสมุด สำหรับให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่านและได้ใกล้ชิดกับหนังสือมาก ยิ่งขึ้น เช่น จัดนิทรรศการหนังสือในโอกาสต่างๆจัดกิจกรรมเพื่อชวนให้อ่านหนังสือสม่ำเสมอ ฯลฯ
- ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรมีการศึกษา เตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ต้องเป็นกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความสามารถของผู้เรียน รวมทั้งมีความหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
- ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการอ่านของนักเรียนรายบุคคล เพื่อที่จะจัดกิจกรรมสนองกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนได้ อย่างเหมาะสม
- ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หากนำตัวอย่างจากเอกสารฉบับนี้ไปใช้ ควรปรับปรุงหรือดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้กิจกรรมดูน่าสนใจแปลกใหม่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
- นอกจากโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้แก่นักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
กิจกรรมเสนอแนะ
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นับว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยให้การมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็นแรงจูงใจ ให้ผู้อ่านได้อ่านอย่างมีความสุข ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนั้นมักมีกิจกรรมที่คล้ายกันหรือซ้ำกัน อาจสรุปประเภทของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้ดังนี้1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเน้นทักษะการอ่าน
- เล่านิทาน
- เชิดหุ่น
- Reading Rally ว่างจากงาน อ่านทุกคน
- แข่งขันตอบปัญหา
- ห้องสมุดเคลื่อนที่
- ค่ายการอ่าน
- แข่งขันตอบคำถามสารานุกรม
- ยอดนักอ่าน ฯลฯ
- เสียงตามสาย
- วันสำคัญ
- อ่านหนังสือสู่ชุมชน
- แหล่งความรู้ในท้องถิ่น
- นิทรรศการ ฯลฯ
- คลินิกหมอน้อย
- พี่ช่วยน้อง
- ให้ความรู้การใช้ห้องสมุด
- แข่งขันเปิดพจนานุกรม ฯลฯ
- หนูน้อยนักล่า
- เล่าเรื่องจากภาพ
- จากบทเพลงสู่งานเขียน
- โต้วาที
- เรียงความยุวทูตความดี ฯลฯ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
- http://www.gotoknow.org/posts/272085
- http://librarytest.spu.ac.th
- ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การศึกษาวันนี้ ปีที่ 7 ฉบับที่334 วันที่ 24 – 31 พฤษภาคม 2550
มหกรรมการศึกษา
มหกรรมการศึกษาจังหวัดพิจิตร
“ขับเคลื่อน กศน. คุณธรรม นำสู่วิทยาศาสตร์
สานต่ออาชีพ
สร้างโอกาสทางการศึกษา”
ตามที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อให้คนไทยมีโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค เท่าเทียม ทั่วถึง และมีคุณภาพ และเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา โดยมอบให้หน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาไปดำเนินการเพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้ ทักษะ และการสร้างสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาคุณธรรม กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชน ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมี กศน.ตำบล เป็นสถานศึกษาในสังกัด ได้บูรณาการกิจกรรมร่วมกัน ทั้งกิจกรรมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง รวมถึงการจัดการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อแสดงความก้าวหน้าทางการศึกษาและจัดเวทีแสดงความสามารถผลงาน นวัตกรรมของ นักศึกษา กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จึงได้ร่วมจัดทำโครงการมหกรรมการศึกษาจังหวัดพิจิตร “ขับเคลื่อน กศน. คุณธรรม นำสู่วิทยาศาสตร์ สานต่ออาชีพ สร้างโอกาสทางกรศึกษา” เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษา ของ กศน.จังหวัดพิจิตร ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และกิจกรรมเสริมหลักสูตรนักศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และการศึกษาตามอัธยาศัย
- เพื่อจัดกิจกรรมนำเสนอการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ ความสนใจและตามความต้องการของผู้เรียนและเพื่อให้โอกาสจัดเวทีแสดงผลงาน นวัตกรรมของนักเรียน นักศึกษา นำเสนอการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาคุณธรรมจังหวัดพิจิตร
- เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และผู้สนใจได้เรียนรู้และนำประสบการณ์จากการศึกษาผลงานต่างๆ ในงานมหกรรมการศึกษาเพื่ออาชีพไปปรับประยุกต์พัฒนางานและผลงานของตนเอง
- เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และผู้สนใจทั่วไปเรียนรู้ในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน: หนังสือมะเฟือง
สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีการที่จะนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก ที่จะช่วยกระตุ้นให้เขาเหล่านั้นมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สนุกกับการอ่าน เรามีหนึ่งกิจกรรมที่ทำแล้วได้รับความสนใจจากเด็กๆ มาก นั่นคือ การประดิษฐ์หนังสือมะเฟือง ซึ่งเป็นสื่อหนังสือทำมืออย่างหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี....
หนังสือทำมือ...คือสะพาน...ที่จะทอดยาวไปสู่นิสัยรักอ่านด้วยหัวใจของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่มีคุณค่าในการพัฒนาทักษะการอ่านและมีคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล ถือเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในใจครูแลtนักเรียนตลอดกาล...กล่าวไว้โดย
ครูวัชรีย์ ลำจวน
- กระดาษ
- กาว
- กรรไกร
- ตัตเตอร์
1. พับครึ่งตามยาว พับมุมเข้ามาทั้งสองข้าง
2. พับหักมุมเข้ามาตามภาพ
2. พับหักมุมเข้ามาตามภาพ
3. พับมุมลงมาอีกทีให้ได้ตามภาพ
4. เสร็จแล้วหักมุมอีกครั้ง
5. ทำแบบนี้ให้ได้สัก ๑๐ ชิ้น แล้วทากาวติดเข้าด้วยกัน ด้านต่อด้าน
6. ภาพสำเร็จเมื่อต่อครบหมดทั้งเล่ม อาจเพิ่มหน้าเข้าไปหลายๆ ชิ้น รูปทรงจะสวยงามมากยิ่งขึ้น
ปล.เนื้อหาหรือเรื่องราวที่จะจัดทำเป็นหนังสือมะเฟืองสามารถเลือกได้ตามความสนใจนะคะ หรือบางท่านอาจทำเป็น pop upในหนังสือมะเฟืองนี้ก็ได้ แล้วโอกาสหน้าจะนำวิธีทำหรือตัวอย่างมานำเสนอให้ได้ลองฝึกกันค่ะ...
6. ภาพสำเร็จเมื่อต่อครบหมดทั้งเล่ม อาจเพิ่มหน้าเข้าไปหลายๆ ชิ้น รูปทรงจะสวยงามมากยิ่งขึ้น
ติดกระดุมหรือริบบิ้นแบบผูกเก็บได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)