ผู้แต่ง : ณัฐจรีย์ จุติกุล
พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564
หนังสือเรื่อง รางเลือน เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้ดูแลผู้ป้วยโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ต้องใช้หลักธรรมและปรับทัศนคติตนเองเพื่อการดูแลคนที่เรารักให้ดีที่สุด
ผู้แต่ง : ณัฐจรีย์ จุติกุล
พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564
หนังสือเรื่อง รางเลือน เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้ดูแลผู้ป้วยโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ต้องใช้หลักธรรมและปรับทัศนคติตนเองเพื่อการดูแลคนที่เรารักให้ดีที่สุด
1. ชื่อแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียงตำบลหนองกุลา
2. ชื่อผู้จัดการแหล่งเรียนรู้ นายประกอบ เกิดผ่อง เบอร์โทร 062-9414-184
3. ที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ บ้านเลขที่ 163/1 ม.14 บ้านหนองปลวก ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ
จังหวัดพิษณุโลก
4. ลักษณะของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หมายถึง “แหล่ง” หรือ “ที่รวม” ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ กิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ในชุมชนที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้และเรียนรู้ ด้วยตนเองได้ตามอัธยาศัย การสร้างและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลใน ชุมชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ภายใต้สิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบ ๆ ตัว ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น จากประสบการณ์ของวิทยากรหรือ ปราชญ์ชาวบ้าน จากแปลงสาธิต จากศูนย์เรียนรู้ ฯลฯ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ จริง ในลักษณะของการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ที่ไม่เน้นการเรียนรู้ เฉพาะในห้องเรียน ดังนั้นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชนจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะก่อ ประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมผัสและ จับต้องได้ทั้งนี้ ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ไม่ได้มีเฉพาะต่อสมาชิกในชุมชนเท่านั้น แต่ ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ เพื่อดําเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลชุมชนที่เป็นระบบด้วย
6.ความเป็นมาของของปราชญ์
เดิมที เป็นชาวบ้านประกอบอาชีพทำนา เป็นเกษตรกรคนนึงที่ใช้สารสารเคมี ปลูกพืชเชิงเดียว ทำมานานพอสมควร จนเป็นหนี้ จนเกิดความเบื่อหน่ายอยากเปลี่ยนอาชีพ จึงไปผลันตัวเองไปรับจ้างช่วยช่าง ซึ่งเป็นญาติกันได้ไปรับเหมางานทำเกี่ยวกับก่อสร้าง อยู่มาวันนึงได้มีโอกาสเข้าไปทำไฟในพระราชวังของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระเองทรงชี้แนวทางการทำเกษตรแบบผสมผสาน เลยลองกลับมาทำตามที่พ่อหลวงท่านบอก คือทำไร่นาสวนผสม ปลูกป่า ปลูกผักสวนครัว ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทำมาเป็นเวลา 3 ปี ทำจนมีความรู้จนเชี่ยวชาญและสามารถหลุดหนี้ที่เป็นอยู่ ต่อมาเริ่มมีหน่วยงานเกษตรอำเภอมาส่งเสริมลุงประกอบให้ไปประกวดออกงานต่างๆ จนได้รับรางวัลและเป็นยอมรับของสังคมในปัจจุบัน
7. กระบวนการเรียนรู้ 1. ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทั้งที่มีในตําราเรียนและที่ไม่มีในตําราเรียน
2. ใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม
3. ใช้เป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น
4. ใช้เป็นแหล่งสถานที่ศึกษาดูงาน ฝึกฝนอาชีพ
กลุ่มผักปลอดสารพิษบ้านหัวขัว
ที่ตั้ง หมู่ 1 บ้านหัวขัว
ตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 65140
ชื่อ นางไว ยอดบุตรี เบอร์โทร 081-9735293
ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ กลุ่มผักปลอดสารพิษ
เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกันเรียนรู้เรื่องการผลิตได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและสามารถลด ละเลิก การใช้สารเคมีมาเป็นการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรได้อย่างไรหลังจากที่ได้เกิดการเรียนรู้เกษตรกรสามารถที่จะรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และเกิดกระบวนการคิดที่ได้จากการเรียนรู้ได้อย่างไร โดยนำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิต ตลอดจนเกิดกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมกันดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มแข็งได้
กระบวนการเรียนรู้ การพึ่งตนเองของกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านพันเสา
ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการทำงาน โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ก่อนทำคือการวางแผนการดำเนินงาน (วางแผน)
2.ขณะทำเกษตรกรรมอินทรีย์คือการดำเนินการ
วิธีการ ตามแผน (ปฏิบัติตามแผน)
1) การดำเนินการรวบรวมสมาชิก
2) การดำเนินการแสวงหาความรู้
3) ขั้นลงมือปฏิบัติจริง เป็นการบริหารทรัพยากรและการมีส่วนร่วม
เชิงบูรณาการในการดำเนินงาน คน
ความรู้โดยเครือข่ายภาครัฐทรัพยากรโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการโดยชุมชน
ก่อให้เกิดการบูรณาการในภาคส่วนต่างๆ ทำให้เกิดการรับรองมาตรฐานการผลิต
เกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษภายใต้ชื่อมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของพันเสาฟาร์ม
3. หลังทำเกษตรกรรม อินทรีย์คือการประเมินแผน
(ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน)
4. การนำผลการประเมินมาพัฒนา (ปรับปรุง แก้ไข) จากกระบวนการพึ่งตนเองกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านพันเสาที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จะเห็นว่าเป็นการ พึ่งตนเอง
ครูผู้ประสานงาน นางสาวสยุมพร
บุญอินทร์