วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

กลุ่มทอผ้าวันทาผ้าขิต

 แหล่งเรียนรู้

กศน.ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

*****************************

1. ชื่อแหล่งเรียนรู้ : กลุ่มทอผ้าวันทาผ้าขิต

2. ที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :

13 ม.6 บ้านคลองเตย ต.บึงกอก อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก 65140

3. ชื่อผู้จัดการแหล่งเรียนรู้ : นางวันทา โกสากุล เบอร์โทร 086-213-5219

4. ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ :

เป็นการทอผ้าธรรมชาติ ผ้าลายขิต สายฝน ผ้าขาวม้า ผ้ามัดหมี่

5. กระบวนการเรียนรู้ : ปี 2529 ได้เป็นเหรัญญิต ของกลุ่มทอผ้าป้าพุฒ ซึ่งมีแม่เป็นประธานกลุ่มอยู่ และเมื่อปี 2541 ได้แยกออกเป็นทำเป็นกลุ่มวันทาผ้าขิต โดยตนเองเป็นประธานกลุ่ม และมีสมาชิก 40 คนในหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนได้ใช้เวลาว่างมาทอผ้า เพื่อหารายได้เสริม และได้มีการขายผ้าที่กลุ่มและได้ออกจำหน่ายสินค้าตามงานต่างๆ เช่น จังหวัดเคลื่อนที่ อำเภอเคลื่อนที่ งานกาชาด งานต่างๆ ผ้าคัดสรร ขอโอท๊อปจาก 3 ดาว เป็น 4 ดาว ยกระดับจนถึงปัจจุบันและได้เป็นวิทยากรของหน่วยงานอื่น หลายหน่วยงาน เช่น กศน. พัฒนาชุมชน พัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาสังคม ฯลฯ และมีศึกษาดูงานจากหน่วยงานอื่น


ครูผู้ประสานงาน : นางสาวกาญจนา อยู่นิ่ม



ที่มาข้อมูล : https://qrgo.page.link/M6sVK

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

วันพระราชทานธงชาติไทย

 28 กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย

          วันพระราชทานธงชาติไทย (อังกฤษ: Thai National Flag Day) เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ โดยมีสาระสำคัญคือ การประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการประกาศไว้ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460[1] สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเสนอให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย และในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ที่ประชุมซึ่งนำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็น วันพระราชทานธงชาติไทย โดยให้เริ่มในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ[2] รวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และถือเป็นประเทศที่ 54 ของโลกที่มีวันธงชาติ โดยการกำหนดวันธงชาติของต่างประเทศ ล้วนอิงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และการสร้างชาติของแต่ละประเทศ

 

               ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นปีแรกที่รัฐบาลประกาศให้มีกิจกรรมวันพระราชทานธงชาติไทยนั้น ถือเป็นปีที่มีการจัดกิจกรรมครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทยด้วย ในวันที่ 28 กันยายน ที่ตึกไทยคู่ฟ้า และตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จึงมีการจัดกิจกรรมครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย และมีนิทรรศการวันพระราชทานธงชาติไทย ชื่อว่า "100 ปี ธงชาติไทย ร้อยดวงใจไทยทั้งชาติ" โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกิจกรรมครั้งนี้ โดยมีส่วนราชการต่าง ๆ มาร่วมในพิธีนี้ด้วยตั้งแต่เวลา 07:45 น. โดย พล.อ.ประยุทธ์ รับการเคารพจากหมู่เชิญธง และมอบธงชาติไทยแก่หัวหน้าชุดหมู่เชิญธง จากนั้นชุดหมู่เชิญธงนำธงชาติไทยที่ได้รับมอบจากนายกรัฐมนตรี มายังบริเวณแท่นหน้าเสาธง ขณะที่นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี พร้อมกันยังจุดบริเวณแท่นหน้าเสาธง ตึกสันติไมตรี เพื่อยืนเคารพธงชาติไทย และร่วมร้องเพลงชาติไทยในเวลา 08:00 น. จากนั้นเปิดนิทรรศการวันพระราชทานธงชาติไทย พร้อมทั้งมอบตราสัญลักษณ์ ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง

 ประวัติธงชาติไทย

 1. ผืนธงสีแดงล้วน

        “ธงชาติไทย” เริ่มมีใช้ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. เนื่องด้วยฝรั่งเศสได้นำเรือรบเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและการค้า นายเรือฝรั่งเศสได้ร้องขอให้สยามชักธงชาติขึ้น เพื่อจะยิงปืนใหญ่สลุต แต่สยามขณะนั้น หาได้มีธงชาติใช้ไม่ จึงได้นำผืนผ้าสีแดงสดชักขึ้นแทน กองเรือฝรั่งเศสเห็นดังนั้นจึงได้ยิงปืนใหญ่สลุต พร้อมนำเรือแล่นผ่านป้อมวิไชเยนทร์ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พุทธศักราช 2223 และนั่นคือ ธงชาติไทยผืนแรก ของสยามประเทศ

 2. ผืนธงสีแดง จักรสีขาว

         ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงกำหนดให้ใช้ “จักร” อันเป็นเครื่องหมายแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี. ลงไว้กลางธงผ้าผืนแดงสำหรับใช้ในเรือหลวง ส่วนเรือราษฎร์นั้นให้ใช้คงเดิม

 3. ผืนธงสีแดง ช้างสีขาวกลางวงจักรสีขาว

         ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ขึ้นบนผืนแผ่นดินสยาม คือ การได้ช้างเผือกเข้ามาสู่รัชกาลถึง 3 ช้าง ได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และ พระยาเศวตคชลักษณ์ ซึ่งถือว่าเป็นพระเกียรติยศอันสูงสุด จึงโปรดทำรูปช้างสีขาวไว้กลางวงจักรสีขาว กลางผืนธงแดง ส่วนเรือราษฎร์นั้นให้คงเดิม

 4. ผืนธงสีแดง ช้างสีขาว

         ล่วงเข้ารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้เอารูปจักรออก เนื่องจากทรงเห็นว่าจักรเป็นของสูง โดยให้ใช้รูปช้างเผือกบนผืนผ้าแดง และให้เรือหลวง เรือราษฎร์ ใช้เหมือนกัน

 5. ผืนธงสีแดง ช้างทรงเครื่อง

             เมื่อปีพุทธศักราช 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสให้ ผืนธงแดงตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่อง หันหน้าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ในเรือหลวงทั้งปวง


ที่มา: https://news.mthai.com/webmaster-talk/589724.html 

         https://qrgo.page.link/q9yD3


วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

ปราชญ์ชาวบ้าน: นายทองปาน เผ่าโสภา

 นายทองปาน เผ่าโสภา

1. ชื่อแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียงตำบลหนองกุลา

2. ชื่อผู้จัดการแหล่งเรียนรู้ นายทองปาน เผ่าโสภา เบอร์โทร 086-206-3680

3. ที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ บ้านเลขที่ 163 ม.14 บ้านหนองปลวก ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

4. ลักษณะของแหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หมายถึง “แหล่ง” หรือ “ที่รวม” ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ กิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆในชุมชนที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้และเรียนรู้ ด้วยตนเองได้ตามอัธยาศัย การสร้างและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลใน ชุมชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยการ กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ภายใต้สิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบ ๆ ตัว ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น จากประสบการณ์ของวิทยากรหรือ ปราชญ์ชาวบ้าน จากแปลงสาธิต จาก  ศูนย์เรียนรู้ ฯลฯ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ จริง ในลักษณะของการศึกษา นอกระบบหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ที่ไม่เน้นการเรียนรู้ เฉพาะในห้องเรียน         ดังนั้นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชนจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะก่อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมผัสและจับต้องได้ทั้งนี้ ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ไม่ได้มีเฉพาะต่อสมาชิกในชุมชนเท่านั้น แต่ ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้เพื่อดําเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลชุมชนที่เป็นระบบด้วย


5. ความเป็นมาของของปราชญ์

แรกเริ่มการประกอบอาชีพเกษตรกรอยู่แล้ว จนมีหน่วยงานเกษตรชวนไปเที่ยวดูงานโครงการพระราชดำริระดับอำเภอ เป็นแหล่งจุดประกายเป็นแรงบันดาลใจ อยากที่จะทำตาม จากที่เคยปลูกพืชโดยใช้สารเคมี ปลูกพืชเชิงเดียว กลับมาปลูกพืชแบบหลากหลาย ในพื้นที่ดินของตนเอง ตัดแปลงทำเป็นสัดส่วน ปลูกป่า ทำไร่ ทำนา ทำสวน และปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ ทำไว้เป็นสัดส่วน ดำรงชีพมาจนถึงปัจจุบัน และมีหน่วยงานต่างๆเข้าไปส่งเสริมและดูงานมาโดยตลอดทั้งปี

6. กระบวนการเรียนรู้

         1. ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทั้งที่มีในตําราเรียน และที่ไม่มีในตําราเรียน

2. ใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม

         3. ใช้เป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น

         4. ใช้เป็นแหล่งสถานที่ศึกษาดูงาน ฝึกฝนอาชีพ.

7. วัน – เวลา เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา 08.30 – 16.00 น

    (ขึ้นอยู่กับผู้เรียนประสานกับผู้จัดการเรียนรู้กำหนดร่วมกัน)


ที่มาข้อมูล :https://qrgo.page.link/67k4u




วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564

แหล่งเรียนรู้ : กลุ่มทอผ้ามัดหมี่บ้านหนองบัวนา

 กลุ่มทอผ้ามัดหมี่บ้านหนองบัวนา ตำบลนิคมพัฒนา


👉ที่ตั้งแหล่งเรียนรู้   58/5  หมู่ 10  บ้านหนองบัวนา  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอบางระกำ  จังหวัดพิษณุโลก

👉ชื่อผู้จัดการแหล่งเรียนรู้  นางทองแดง  อุ่นใจ   เบอร์โทร  099 552 2430

👉ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ 

“บ้านหนองบัวนา” หมู่ 10  ตำบลนิคมพัฒนา  มีความเป็นชุมชนวิถีอีสานที่มีอัตลักษณ์ที่แฝงไปด้วยเสน่ห์ทางวัฒนธรรม  จากการที่มีคนจากภาคต่าง ๆ ทั้งภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อพยพเข้ามาอยู่ อาศัยร่วมกัน เป็นระยะเวลายาวนาน  ในพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้  แหล่งน้ำ สัตว์ป่า  มีสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์  จากหมู่บ้านเล็ก ๆ  จนเกิดเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องของความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพจึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ประเพณี  พิธีกรรม  ความเชื่อ  ตลอดจน  วิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน  ไม่ว่าจะเป็นคนพื้นถิ่นเดิม  คนจากพื้นที่จังหวัดสุโขทัย  และคนจากภาคอีสาน  ที่อพยพมาหาพื้นที่ทำกินในชุมชนนี้  มีความแตกต่างกันแต่เมื่อมาอาศัยอยู่ร่วมกันต่างสามารถปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสภาพสังคม  เศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม  ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน  บ้านหนองบัวนาจึงมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มอาชีพการทอผ้ามัดหมี่  การทอผ้าพื้น  เพื่อรักษาภูมิปัญญาพื้นถิ่น  ประเพณีที่เคยสั่งสมกันมาในอดีตสืบสานต่อไปสู่ลูกหลาน

👉กระบวนการเรียนรู้  บรรยายการเรียนรู้  สาธิตการปฏิบัติ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติจากภูมิปัญญา

👉วัน – เวลา  วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น.

👉ระยะเวลาในการเรียนรู้  3 – 6  ชั่วโมง

👉ครูผู้ประสานงาน    นางนราภรณ์  โพธิ์เกิด

 



 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

3 ต้นไม้ป้องกันภูมิแพ้

#นานาสาระ 

#กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์

ในพื้นที่ๆ มีมลภาวะสูง ละอองฝุ่นผลมีปริมาณสูง อาจจะทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ต้องป่วยเป็นโรคแพ้อากาศอย่างรุนแรงได้ ซึ่งคนที่
เป็นหนักๆ อาการอาจจะทรุดจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้...#ธรรมชาติบำบัด
Cr. sanook.com/หมอชาวบ้าน

7 ดอกไม้มงคลที่ใช้ไหว้พระ ขอพร

 #นานาสาระ

ดอกไม้บูชาพระ ดอกไม้มงคลที่มีความหมายดี เป็นศิริมงคลจะนำความโชคดีมาให้





วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

5 เคล็ดลับ ใช้สมุนไพรไทยคลายร้อน

 #นานาสาระ

สมุนไพรไทย มีมากมายหลายชนิด ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไป ประโยชน์ทางตรง คือ เป็นยารักษาโรค ช่วยป้องกันโรคภัยได้มากมายตามคุณประโยชน์เฉพาะตัวของสมุนไพรชนิดนั้นๆ ส่วนประโยชน์ทางอ้อมคือ ช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทำให้รู้สึกสดชื่น รสชาติอร่อย


วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

ประโยชน์ของชาเปปเปอร์มิ้นท์

ประโยชน์ของชาเปปเปอร์มิ้นท์ ช่วยภูมิคุ้มกัน บรรเทาความเครียด ต่อสู้กับการอักเสบ บรรเทาอาการคลื่นไส้ รองรับการลดน้ำหนัก บรรเทาอาการปวดหัว