ประวัติความเป็นมาของสุนัขไทยบางแก้ว จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม และบ้านชุมแสงสงคราม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของสุนัขไทยบางแก้วนั้นอยู่ที่วัดบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็นป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมูป่า ไก่ป่า หมาจิ้งจอก และหมาใน
หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยงสุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา และชาวบ้านทราบกันดีว่า ใครที่เข้ามาในวัดแต่ละครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกล ๆ เพื่อให้พระอาจารย์มาก เมธาวี ท่านช่วยดูหมาเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมันไล่กัด ด้วยกิตติศัพท์ในความดุของสุนัขที่วัดบางแก้วนี้เอง จึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ ๆ สุนัขไทยบางแก้วได้ขยายพันธุ์ไปมากที่สุดก็คือ ตำบลท่านางงามและตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปหลายจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฝ้าบ้านเรือนหรือเรือกสวนไร่นาทางภาคใต้และภาคตะวันออก[1]
เหตุผลที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยบางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด เพราะพื้นที่ในเขตตำบลท่านางงาม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ ในอดีตนั้นเป็นป่าดงพงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งสุนัขจิ้งจอกและหมาในอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้งจอกและหมาในตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัขไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียว เพราะสุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย ว่องไว ใจปราดเปรียว แข็งแรง ซึ่งเรื่องนี้ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วจึงมีลักษณะดีเด่นปรากฏโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงโต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ มีความสวยงาม
ลักษณะทั่วไปสุนัขพันธุ์บางแก้ว
- ลักษณะกะโหลก : มีลักษณะออกรูปสามเหลี่ยม ขนาดใหญ่ หรือหัวโตกว่าสุนัขบ้านทั่วไป
- ลักษณะหู : สุนัขบางแก้วในระยะแรกจะมีใบหูใหญ่ ปลายหูกลมมน มีขนปกคลุมจนปิดรูหู ปัจจุบันพบใบหูเล็ก สั้น เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยื่นตรงไปข้างหน้า ปลายหูเบนไปด้านข้างเล็กน้อย โคนหูสองข้างห่างกันมากกว่าสุนัขทั่วไป ขอบใบหูเป็นสันเล็กๆ มีขนอ่อนภายในหู กกหูด้านนอกมีขนปุยปกคลุม
- ลักษณะปาก : ปากมีลักษณะแหลม เรียว มองด้านหน้าจากส่วนกะโหลกถึงปากจะแคบ คล้ายรูปสามเหลี่ยม
- ลักษณะตา : ตาเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายตาเสือ แววตาเซื่องซึม แต่เวลาเจอศัตรูหรือคนแปลกหน้าแววตาจะดุวาว
- ลักษณะฟัน : ฟันแหลมคม โดยเฉพาะฟันเขี้ยว มีลักษณะเล็กแหลม แข็งแรง
- ลักษณะสีขน : พบหลายสี ได้แก่ สีด่างขาว-นํ้าตาล, สีด่างขาว-ดำ, สีนํ้าตาลแก่, สีขาวปลอด, สีดำ ปลอด และสีนาก และพบลักษณะจุดแต้มเล็กๆ ตามลำตัวที่เป็นสีอื่นจากสีหลักของลำตัว เช่น สีลำตัวหลักเป็นแดง-ขาว จุดแต้มจะมีสีนํ้าตาลแดง เป็นต้น
- ลักษณะขนตามลำตัว : ขนลำตัวมีสองชั้น ชั้นแรกมีลักษณะสั้น อ่อนนุ่ม และหนากว่าชั้นที่ 2 ส่วนขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว พบตั้งแต่ท้ายทอยผาดผ่านจนถึงโคนหาง มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนบริเวณอกค่อนข้างหนา เป็นแผง และขนบริเวณสีข้างค่อนข้างยาว
- ลักษณะหาง : บริเวณโคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้าในแนวกลางหลังหรือเบนออกข้างลำตัว ขนหางตั้งแต่โคนหางจรดปลายหางมีขนาดยาว ปุยกระจายเป็นพุ่มสวยงาม
- ลักษณะขาหลัง : ขาตั้งตรงขนานกัน ลาดเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย บริเวณแก้มก้นด้านหลังเหนือต้นขาจะมีขนยาวปุกปุย เวลาเคลื่อนไหวแถบใต้โคนหางจะรับกับหางที่ปัดไปมา
- ลักษณะขาหน้า : มีลักษณะขนานกัน เหยียดตรงกว่าขาหลัง และค่อนข้างใหญ่ ยาวกว่าขาหลัง บริเวณตั้งแต่โคนขาหน้าด้านหลังจนถึงข้อนิ้วเท้าจะมีขนเส้นยาว ตั้งเอนลงด้านล่าง ปกคลุมยาวเด่นบริเวณตรงกลาง ชาวบ้านนิยม เรียกเอกลักษณ์นี้ว่า “ขาสิงห์”
- ลักษณะนิ้วเท้า : นิ้วชิดติดกัน มีขนปกคลุมยาว เวลาเดินมักโหย่งเท้า
- ลักษณะใบหน้า : ใบหน้าทรงแหลม มีขนบริเวณแก้มพองออกคล้ายสิงห์โต แบ่งลักษณะใบหน้าเป็น 3 ชนิด คือ
1. หน้าเสือ รูปทรงกะโหลกใหญ่ หน้าผากกว้าง หูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กกางออกเล็กน้อย
2. หน้าสิงห์โต รูปทรงกะโหลกเล็กกว่าหน้าเสือ หูรูปสามเหลี่ยม เอนไปข้างหน้ารับกับใบหน้า ปากเรียวสั้นกว่าหน้าจิ้งจอก โคนหูปกคลุมด้วยขนยาวเป็นแผงจนถึงคอ รับกับขนยาวโดยรอบของคอ มองด้านข้างคล้ายสิงห์โต
3. หน้าจิ้งจอก ทรงหน้าแหลมกว่าสองชนิดข้างต้น และมีใบหูใหญ่กว่า ใบหูเอนออกด้านข้าง เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลมเรียว ค่อนข้างยาว คล้ายสุนัขจิ้งจอก ซึ่งถือกันว่าเป็นชนิดที่มีสายเลือดของสุนัขจิ้งจอกหรือสุนัขป่ามากที่สุด
2. หน้าสิงห์โต รูปทรงกะโหลกเล็กกว่าหน้าเสือ หูรูปสามเหลี่ยม เอนไปข้างหน้ารับกับใบหน้า ปากเรียวสั้นกว่าหน้าจิ้งจอก โคนหูปกคลุมด้วยขนยาวเป็นแผงจนถึงคอ รับกับขนยาวโดยรอบของคอ มองด้านข้างคล้ายสิงห์โต
3. หน้าจิ้งจอก ทรงหน้าแหลมกว่าสองชนิดข้างต้น และมีใบหูใหญ่กว่า ใบหูเอนออกด้านข้าง เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลมเรียว ค่อนข้างยาว คล้ายสุนัขจิ้งจอก ซึ่งถือกันว่าเป็นชนิดที่มีสายเลือดของสุนัขจิ้งจอกหรือสุนัขป่ามากที่สุด
- ลักษณะท้อง : ลักษณะท้องทรงกลม หนาตลอดแนว ไม่กิ่วคอดเหมือนสุนัขทั่วไป
- ลักษณะหลัง : ลักษณะหลังค่อนข้างแบนเรียบ เป็นแนวตรง ขนหนา แบนเรียบปกลงตามลำตัว
- ลักษณะลำคอ : ลักษณะคอค่อนข้างใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก
มาตรฐานสุนัขพันธุ์บางแก้ว (ชมรมผู้อนุรักษ์ และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จ.พิษณุโลก แห่งประเทศไทย)
1. หู : เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหู และในหู
2. ตา : ตามีขนาดเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยม
3. จมูก : ปลายจมูกขนาดเล็ก ได้สัดส่วนกับปาก
4. ฟัน : ฟันมีขนาดเล็ก แหลมคม ฟันหน้าบนและล่างขบกันสนิท
5. ปาก : รูปทรงปากแหลม และแหลมกว่าสุนัขไทยทั่วไป ได้สัดส่วน
6. ขาหน้า : ใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืนเหยียดตรงจะขนานกัน หลังขามีขนยาวลักษณะเหมือนแข้งสิงห์ ข้อเท้าสั้นแอ่นเล็กน้อย
7. เท้า : อุง้ เท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว เล็บเท้าสั้น มีขนยาวคลุมนิ้วเท้าและโคนเล็บ
8. รูปร่างลำตัว : หนา ลํ่าสัน เวลายืนขาเหยียดตรงตั้งได้ฉากกับพื้น คอยก หน้าตั้งหางชูอยู่บนหลัง
9. ศรีษะ : ค่อนข้างใหญ่ได้สัดส่วนกับลำตัว
10. คอ : ใหญ่ ลํ่าสัน รับกะโหลกหัวและช่วงไหล่ มีขนแผงคอยาว และมีขนรอบคอ
11. เส้นหลัง : ตรง
12. ความสูง : ตัวผู้ 48-53 ซม. (19-21 นิ้ว) ตัวเมีย 43-48 ซม. (17-19 นิ้ว)
13. ขน : ขนยาวมี 2 ชั้น ชั้นในลักษณะอ่อนนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่และยาว ปกคลุมบริเวณแผ่นหลัง
14. ถิ่นกำเนิด : บ้านบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
15. หาง : โคนหางใหญ่ หางตั้งเป็นพวง
16. สะโพก : ส่วนหลังปกคลุมด้วยขนยาวตลอดแนวลงมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
17. ขาหลัง : เล็กกว่าขาหน้า เวลายืนเหยียดตรงและขนานกัน
18. นํ้าหนัก : ตัวผู้ 19-25 กก. ตัวเมีย 18-23 กก.
19. สี : มีหลายสี เช่น ด่างขาว-ดำ, ขาว-นํ้าตาล, ขาว-เทา, ขาว-นาก และสีด่างของสีผสมหลายสี ลายประ และสีปลอดด่างอาจมีประด้วย
1. หู : เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหู และในหู
2. ตา : ตามีขนาดเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยม
3. จมูก : ปลายจมูกขนาดเล็ก ได้สัดส่วนกับปาก
4. ฟัน : ฟันมีขนาดเล็ก แหลมคม ฟันหน้าบนและล่างขบกันสนิท
5. ปาก : รูปทรงปากแหลม และแหลมกว่าสุนัขไทยทั่วไป ได้สัดส่วน
6. ขาหน้า : ใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืนเหยียดตรงจะขนานกัน หลังขามีขนยาวลักษณะเหมือนแข้งสิงห์ ข้อเท้าสั้นแอ่นเล็กน้อย
7. เท้า : อุง้ เท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว เล็บเท้าสั้น มีขนยาวคลุมนิ้วเท้าและโคนเล็บ
8. รูปร่างลำตัว : หนา ลํ่าสัน เวลายืนขาเหยียดตรงตั้งได้ฉากกับพื้น คอยก หน้าตั้งหางชูอยู่บนหลัง
9. ศรีษะ : ค่อนข้างใหญ่ได้สัดส่วนกับลำตัว
10. คอ : ใหญ่ ลํ่าสัน รับกะโหลกหัวและช่วงไหล่ มีขนแผงคอยาว และมีขนรอบคอ
11. เส้นหลัง : ตรง
12. ความสูง : ตัวผู้ 48-53 ซม. (19-21 นิ้ว) ตัวเมีย 43-48 ซม. (17-19 นิ้ว)
13. ขน : ขนยาวมี 2 ชั้น ชั้นในลักษณะอ่อนนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่และยาว ปกคลุมบริเวณแผ่นหลัง
14. ถิ่นกำเนิด : บ้านบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
15. หาง : โคนหางใหญ่ หางตั้งเป็นพวง
16. สะโพก : ส่วนหลังปกคลุมด้วยขนยาวตลอดแนวลงมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
17. ขาหลัง : เล็กกว่าขาหน้า เวลายืนเหยียดตรงและขนานกัน
18. นํ้าหนัก : ตัวผู้ 19-25 กก. ตัวเมีย 18-23 กก.
19. สี : มีหลายสี เช่น ด่างขาว-ดำ, ขาว-นํ้าตาล, ขาว-เทา, ขาว-นาก และสีด่างของสีผสมหลายสี ลายประ และสีปลอดด่างอาจมีประด้วย
เทคนิตการเลี้ยงสุนัขพันธุ์บางแก้ว
เทคนิคการเลี้ยงลูกสุนัขบางแก้วให้มีคุณภาพประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ 4 ประการ คือ
1. สภาพแวดล้อม หรืออาณาบริเวณที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข หรือพูดง่ายๆคือสถานที่ที่ลูกหมาบางแก้วใช้เวลาส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ ที่กิน ที่นอน ที่เล่น ควรให้ใกล้กับที่ซึ่งคนในบ้านเดินผ่านไปมา เพื่อลูกหมาจะได้เห็นและสัมผัสกับคนในบ้าน เป็นการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของผู้เลี้ยงกับลูกหมาบางแก้ว นอกจากนี้ควรมีการวิ่งออกกำลังกายกับลูกหมา เพื่อสร้างกิจกรรมร่วมและเป็นเริ่มต้นในการเรียนรู้พื้นฐาน
บริเวณที่ลูกหมาอยู่ พื้นจะต้องไม่ลื่นโดยเด็ดขาด เพราะถ้าพื้นลื่นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกหมาบางแก้วขาเสีย มีอาการดังนี้ คือ ส่วนปลายของขาทั้ง 2 คู่จะแบะออกจากกัน นิ้วเท้าจะกางออก ขาหลังจะเดินขัดหรือกระเผก เพราะว่าลูกหมาบางแก้วจะค่อนข้างปราดเปรียว ว่องไว เวลาที่อยู่บนพื้นผิวที่ลื่น ลูกหมาจะต้องปรับสภาพตัวเองให้สามารถทรงตัวอยู่บนพื้นลื่นนั้นให้ได้ คล้ายๆ เวลาคนที่ยืนบนที่ลื่นก็ต้องกางขาออก เพื่อให้น้ำหนักตัวกระจายออกไป ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพนี้ไปนานๆ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดข้อสะโพก
2. ความสะอาด อย่าปล่อยให้มีการหมักหมมของสิ่งสกปรก อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ ควรมีการทำความสะอาดทุกวัน และควรทำให้พื้นแห้งเร็วที่สุด เพราะสิ่งสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ควรราดพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วยจะเป็นการดี เพราะนอกจากจะเป็นการฆ่าเชื้อแล้ว ยังช่วยดับกลิ่นไม่พึงประสงค์อีกด้วย ทำให้สุขภาพลูกหมาแข็งแรงสมบูรณ์
3. ลม แดด ฝน บริเวณที่อยู่ของลูกหมาควรมีแดดส่องในตอนเช้า เพราะแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค และควรให้มีอากาศถ่ายเทดี แต่ต้องไม่มีลมโกรก ฝนสาด เพราะจะทำให้ลูกหมาไม่สบายได้
4. การให้อาหาร โดยทั่วไปลูกหมามักจะกินเก่งและจุ ทำให้น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมาก เพราะอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ ดังนั้น ต้องควบคุมอาหาร การให้อาหารต้องใช้สูตรที่ว่า "ทำอย่างไรจึงไม่อ้วน แต่มีสุขภาพแข็งแรง" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเลี้ยงจนผอมเกินไป ควรให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม วิธีให้อาหาร ให้อย่างไร ต้องให้ในปริมาณที่พอเหมาะ พอเพียงในแต่ละวัน การให้อาหารจะแบ่งเป็นมื้อๆ เพื่อให้ขนาดที่พอเหมาะกับขนาดของกระเพาอาหาร อย่างให้กินจนพุงกางเกินไป จำนวนมื้ออกาหารควรสัมพันธ์กับอายุ เพราะกระเพาะอาหารจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุด้วย อายุต่ำกว่า 3 เดือน 4 มื้อต่อวัน / 3-6 เดือน 3 มื้อต่อวัน/ 6-18 เดือน 2 มื้อ และ 18 เดือนขึ้นไป 1 มื้อ
ข้อดีของการให้อาหารเป็นมื้อคือ สามารถสังเกตว่าลูกหมาป่วยหรือไม่ เพราะโดยปกติถ้าป่วย จะกินอาหารน้อยลง หรือไม่กินเลย เป็นการฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา กะเวลาดูว่าพอสมควร ถ้ายังไม่หมดให้เก็บกลับทันที ไม่ต้องกลัวว่ามันจะหิวตาย
ส่วนชนิดของอาหาร ควรเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป จะยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ทุนทรัพย์ตามสะดวก อาหารเสริมจำพวกวิตามิน หรือยาบำรุ่งต่างๆ แคลเซียม จะทำให้ลูกหมามีโครงสร้างที่ดี น้ำควรตั้งเอาไว้ให้ตลอดเวลา แล้วน้ำก็ต้องสะอาดด้วย รวมทั้งควรมีที่รองและตั้งระดับได้ เพื่อให้ลูกหมายืนสวย
1. สภาพแวดล้อม หรืออาณาบริเวณที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข หรือพูดง่ายๆคือสถานที่ที่ลูกหมาบางแก้วใช้เวลาส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ ที่กิน ที่นอน ที่เล่น ควรให้ใกล้กับที่ซึ่งคนในบ้านเดินผ่านไปมา เพื่อลูกหมาจะได้เห็นและสัมผัสกับคนในบ้าน เป็นการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของผู้เลี้ยงกับลูกหมาบางแก้ว นอกจากนี้ควรมีการวิ่งออกกำลังกายกับลูกหมา เพื่อสร้างกิจกรรมร่วมและเป็นเริ่มต้นในการเรียนรู้พื้นฐาน
บริเวณที่ลูกหมาอยู่ พื้นจะต้องไม่ลื่นโดยเด็ดขาด เพราะถ้าพื้นลื่นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกหมาบางแก้วขาเสีย มีอาการดังนี้ คือ ส่วนปลายของขาทั้ง 2 คู่จะแบะออกจากกัน นิ้วเท้าจะกางออก ขาหลังจะเดินขัดหรือกระเผก เพราะว่าลูกหมาบางแก้วจะค่อนข้างปราดเปรียว ว่องไว เวลาที่อยู่บนพื้นผิวที่ลื่น ลูกหมาจะต้องปรับสภาพตัวเองให้สามารถทรงตัวอยู่บนพื้นลื่นนั้นให้ได้ คล้ายๆ เวลาคนที่ยืนบนที่ลื่นก็ต้องกางขาออก เพื่อให้น้ำหนักตัวกระจายออกไป ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพนี้ไปนานๆ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดข้อสะโพก
2. ความสะอาด อย่าปล่อยให้มีการหมักหมมของสิ่งสกปรก อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ ควรมีการทำความสะอาดทุกวัน และควรทำให้พื้นแห้งเร็วที่สุด เพราะสิ่งสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ควรราดพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วยจะเป็นการดี เพราะนอกจากจะเป็นการฆ่าเชื้อแล้ว ยังช่วยดับกลิ่นไม่พึงประสงค์อีกด้วย ทำให้สุขภาพลูกหมาแข็งแรงสมบูรณ์
3. ลม แดด ฝน บริเวณที่อยู่ของลูกหมาควรมีแดดส่องในตอนเช้า เพราะแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค และควรให้มีอากาศถ่ายเทดี แต่ต้องไม่มีลมโกรก ฝนสาด เพราะจะทำให้ลูกหมาไม่สบายได้
4. การให้อาหาร โดยทั่วไปลูกหมามักจะกินเก่งและจุ ทำให้น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมาก เพราะอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ ดังนั้น ต้องควบคุมอาหาร การให้อาหารต้องใช้สูตรที่ว่า "ทำอย่างไรจึงไม่อ้วน แต่มีสุขภาพแข็งแรง" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเลี้ยงจนผอมเกินไป ควรให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม วิธีให้อาหาร ให้อย่างไร ต้องให้ในปริมาณที่พอเหมาะ พอเพียงในแต่ละวัน การให้อาหารจะแบ่งเป็นมื้อๆ เพื่อให้ขนาดที่พอเหมาะกับขนาดของกระเพาอาหาร อย่างให้กินจนพุงกางเกินไป จำนวนมื้ออกาหารควรสัมพันธ์กับอายุ เพราะกระเพาะอาหารจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุด้วย อายุต่ำกว่า 3 เดือน 4 มื้อต่อวัน / 3-6 เดือน 3 มื้อต่อวัน/ 6-18 เดือน 2 มื้อ และ 18 เดือนขึ้นไป 1 มื้อ
ข้อดีของการให้อาหารเป็นมื้อคือ สามารถสังเกตว่าลูกหมาป่วยหรือไม่ เพราะโดยปกติถ้าป่วย จะกินอาหารน้อยลง หรือไม่กินเลย เป็นการฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา กะเวลาดูว่าพอสมควร ถ้ายังไม่หมดให้เก็บกลับทันที ไม่ต้องกลัวว่ามันจะหิวตาย
ส่วนชนิดของอาหาร ควรเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป จะยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ทุนทรัพย์ตามสะดวก อาหารเสริมจำพวกวิตามิน หรือยาบำรุ่งต่างๆ แคลเซียม จะทำให้ลูกหมามีโครงสร้างที่ดี น้ำควรตั้งเอาไว้ให้ตลอดเวลา แล้วน้ำก็ต้องสะอาดด้วย รวมทั้งควรมีที่รองและตั้งระดับได้ เพื่อให้ลูกหมายืนสวย
ขอขอบคุณความรู้จาก:
https://th.wikipedia.org/ไทยบางแก้ว
https://pasusat.com/สุนัขพันธุ์บางแก้ว