วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ยางนา : ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใย


เรื่องเล่าต้นยางนา ที่ท่ายาง ร.9 ทรงอนุรักษ์ เพาะเมล็ดปลูก ที่สวนจิตรฯ (25 ต.ค.2559 00.20)

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับการปกปักรักษาพันธุ์ต้นยางนาใน อ.ท่ายาง ที่สองข้างทางมีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก อยากจะสงวนป่ายางไว้แต่ติดขัด สุดท้ายทรงนำเมล็ดไปเพาะและปลูกไว้ที่วังสวนจิตรฯ เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของ จ.เพชรบุรี…

วันที่ 24 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพยายามปกปักรักษาต้นยางนาจากริมถนนเพชรเกษม จ.เพชรบุรี จนกระทั่ง 2504 ได้ทรงนำเมล็ดพันธุ์ยางนา ไปทรงปลูก ณ วังสวนจิตรลดา พร้อมกับมีพระราชปรารภว่า

"ไม้ยางนาในประเทศไทย ได้ถูกตัดฟันไปใช้สอย และทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่า หากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริม และดำเนินการปลูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณไม้ยางนาจะลดน้อยลงไปทุกที จึงควรที่จะได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนา เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ...”

จากนั้น ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่ง เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่ายางแห่งนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรทำไร่ ทำสวน ในบริเวณนั้นมาก จึงทรงเปลี่ยนวิธีด้วยการนำเอาเมล็ดยางนาบริเวณนั้นไปเพาะขยายพันธุ์ในกระถาง ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล และทรงนำไปปลูกในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2504 จำนวน 1,096 ต้น

แม้ยางนาจากแหล่งกำเนิดเหล่านั้นจะสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้น ยังอนุรักษ์ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ซึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนิสิต นักศึกษา แทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

นายบรรพต กำไลแก้ว อดีตนายก อบต.ถ้ำรงค์ ได้พูดถึงความปลาบปลื้มปีติที่ในหลวงได้ทรงนำเมล็ดพันธุ์ยางนาจาก ต.ถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี (อยู่ติดกับอำเภอท่ายาง) แห่งนี้ไปปลูกไว้ในวังสวนจิตรลดา ทรงสอนให้เห็นว่า ไม้ยางนานี้ เป็นไม้ที่มีประโยชน์ควรที่จะอนุรักษ์และปลูกเพิ่มกันไว้ เนื่องจากจะใช้ในการนำไม้มาสร้างบ้าน สร้างเรือนได้ แต่ก่อน ใช้น้ำยางมาทำขี้ไต้ จุดไฟส่องแสงสว่างนำทาง เป็นเชื้อเพลิงและเป็นยารักษาโรคได้ ปัจจุบันยางนาเกือบจะหมดไป แทบจะไม่มีการปลูกเพิ่ม เพราะเป็นไม้หวงห้าม ปลูกได้ แต่เมื่อจะตัดต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตก่อนจึงจะตัดมาใช้ได้ แม้ว่าจะอยู่ในที่ดินมีเอกสารสิทธิ

"ในปี 2560 นี้ ผมพร้อมด้วยชาวตำบลถ้ำรงค์ จะรวบรวมเมล็ดมาขยายพันธุ์ และเชิญชวนท้องถิ่นต่างๆ ช่วยกันปลูกเพิ่ม เพื่อให้เป็นไม้ประวัติศาสตร์ของชาว จ.เพชรบุรี ที่ทรงนำไปปลูกในวังสวนจิตลดา อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงถ่ายทอดให้เห็นความสำคัญของไม้ยางนา จากป่ายางแห่งนี้ต่อไป" นายบรรพต กล่าว.



ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/763212

หลุมพอเพียง

นั่งที่ไหน อ่านที่นั่น
หลุมพอเพียง คือ การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว (ขนาด 80 - 100 เซนติเมตร) ระยะห่างระหว่างหลุม 4 x 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม อาจปลูกตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน รอบบ่อน้ำ ทางเดิน แม้แต่พื้นที่เพียง 4 - 5 ตารางเมตรก็ปลูกได้ ซึ่งพอที่เกษตรกรจะมีพื้นที่ มีเวลา หรือมีกำลังพอทำได้ตามทางแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนขยายผลสู่โครงการทฤษฎี ใหม่ ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน (จาก 1 หลุมเป็น 1 ไร่ และเป็น 10 ไร่ ในโอกาสต่อไป) โดยปลูกไม้ 4 - 5 ประเภทในหลุม เดียว (5 - 10 กว่าชนิดพืช) เพื่อลดภาระการปลูก/รดน้ำ/กำจัดศัตรูพืช/ดูแลรักษา ให้ทุกอย่างเกื้อกูลกันเอง ไม้ที่ปลูก ได้แก่ 1. ไม้พี่เลี้ยง คือ ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ ความชื้น โดยเฉพาะช่วงร้อน/แล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ควรปลูกทิศ ตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดงจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี 2. ไม้ฉลาด/ไม้ข้ามปี คือ ไม้ที่เอาตัวรอดได้ดีเก็บผลนานพอสมควร เช่น ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือน และเรื่อยๆไป 3. ไม้ปัญญาอ่อน/ไม้รายวัน คือ ไม้ล้มลุก ปลูกง่าย ตายเร็ว ต้องคอยปลูกและดูแลใกล้ชิด แต่เก็บผลได้ไว เช่น พริก มะเขือ กระเพรา โหระพา ตะไคร้ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า ฯลฯ เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน 4. ไม้บำนาญ คือ ไม้ผลยืนต้นที่ใช้เวลาปลูกนานหน่อย (2 - 4 ปี) แต่เมื่อให้ผลผลิตแล้ว สามารถเก็บกิน เก็บขาย ได้เรื่อยๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะขาม กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา หรือ (ปลูกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง) 5. ไม้มรดก คือ ไม้ใช้สอย ไม้ยืนต้นอายุยืน ที่ใช้เวลาปลูกนาน เก็บไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต หรือเป็นมรดกให้ลูกหลาน ถ้าขายจะได้เงินก้อนใหญ่ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา พยุง ชิงชัน ซึ่งจะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ปลูกตรงข้ามกับกล้วย โดยใช้แนวคิดที่ว่า หากปลูกไม้ยืนต้น/ไม้ผลยืนต้นอย่างเดียว ต้องรออีก 3 – 10 ปี หรือมากกว่านั้นกว่าจะได้ ผลผลิต (ระหว่างนั้นจะกินอะไร ?) พื้นที่ใต้ร่มเงาหรือบริเวณหลุมที่มีการเตรียมดิน/ใส่ปุ๋ย/ปรับปรุงดิน/รดน้ำ/ดูแล ยัง สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก แทนที่จะปล่อยให้วัชพืชขึ้นเป็นภาระที่ต้องคอยกำจัด การปลูกพืชบางอย่าง(หลายอย่าง)มี กลิ่นเฉพาะที่ช่วยไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าท้าลายหรือไม่ท้าความเสียหาย นอกจากนั้นยังเป็นกุศลบายที่ท้าให้พืชหลักที่ ต้องการปลูก เช่น ไม้ผลยืนต้น/ไม้ป่ายืนต้น เจริญเติบโตและมีโอกาสรอดสูง เพราะผู้ปลูกจะคอยห่วงใย มั่นดูแล/รดน้ำ/ใส่ ปุ๋ย/พรวนดิน ท้าให้พืชหลักดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าปกติอีกด้วย และหากพืชชนิดใดชนิดหนึ่งจะเบียดเบียนพืชอื่นมาก เกินไป ให้คอยควบคุมให้เหมาะสม มีการตัดแต่งทรงพุ่ม จัดพืช/เถาเลื้อยให้เหมาะสม และให้มีกล้วยเพียง 1 - 2 ต้น เท่านั้น


วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โครงการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โครงการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

           นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เป็นอันมาก เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยและความเจริญของประเทศไทย สมดังพระราชปณิธานที่ว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนักจึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้ทรงเป็น “มหาราช” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จึงจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้สาธารณชนได้ประจักษ์ถึงน้ำพระหฤทัย พระเมตตา ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย และเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติและรักอธิปไตยของไทย ทะนุบำรุงและปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่นับถือ การเทิดทูนและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

จัดโต๊ะหมู่บูชาเครื่องทองน้อยและโต๊ะลงนามถวายความไว้อาลัย



จัดนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ




จัดกิจกรรมสาธิตการย้อมผ้า 




สาธิตการทำริบบิ้น   สีดำไว้อาลัย