8 กันยายน "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ"
ความเป็นมา
ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2510 โดยกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี หลังจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่กรุงเตหะราน เมื่อปี ค.ศ. 1965 และมีมติให้ถือเอาวันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นที่ที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือ (International literacy Day) และเริ่มจัดงานเพื่อรณรงค์ส่งเสริมกระตุ้นเตือนสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ เมื่อ 8 กันยายน 2550 เป็นต้นมา
จากการจัดงานเล็กๆ ภายในกองการศึกษาผู้ใหญ่และตามโรงเรียนต่างๆ แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กองการศึกษาผู้ใหญ่จึงจัดงานวันการศึกษาผู้ใหญ่แห่งชาติขึ้น ในวันที่ 8 กันยายน เมื่อมีการสถาปนากรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ก็มีการจัดงานวันการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นในวันดังกล่าว และได้ถือว่าวันที่ 8 กันยายน เป็นวันการศึกษานอกโรงเรียนด้วย แต่กระนั้นก็ตามสาระสำคัญของงานในวันดังกล่าวก็ยังให้ความสำคัญในฐานะวันที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือตลอดมา การจัดงานในวันที่ 8 กันยายนขยายตัวจากการจัดงานเล็กๆ มาสู่การจัดงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนมาด้วยกันและถือว่าการรู้หนังสือเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการศึกษานอกโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2551 เป็นปีแรกที่เริ่มมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขอบข่ายของงานกว้างขวางครอบคลุมกิจการเรียนรู้ของผู้คนในชาติหลายมิติ แต่เพื่อที่จะให้การรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือเด่นชัดขึ้น จึงได้ยกเอาวันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
เหตุผลสำคัญก็คือ สถานการณ์การรู้หนังสือของประชาชนคนไทยในปัจจุบันแม้จะดีขึ้น กล่าวคือมีประชากรที่รู้หนังสือถึงร้อยละ 98 มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ แต่ก็มีคำถามที่น่าสนใจก็คือผู้คนจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรไทย 63 ล้านคนคือประชากรจำนวนกว่า 1.2 ล้านคน นั้น เป็นใครอยู่ที่ไหน ไม่รู้หนังสือจริงหรือ ปัจจุบันคนเหล่านี้ทำอะไรอยู่และสิ่งที่เขาทำนั้นเกิดผลอย่างไรต่อตัวเขาเอง ครอบครัวชุมชนและประเทศบ้าง
เชื่อหรือไม่ว่าในจำนวน 1.2 ล้านกว่าคนนี้ บางทีอาจอยู่ใกล้ตัวเรานี่เอง และเราก็คงได้ข่าวอยู่เสมอว่าเกิดผู้ไม่รู้หนังสือใหม่ขึ้นทุกวัน อันเนื่องมาจากการลืมหนังสือ เพราะชีวิตในแต่ละวันไม่ได้ใช้หรือเกี่ยวข้องกับหนังสือเลย หลายท่านอาจจะนึกว่าผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุ แล้วทิ้งไว้เฉยๆ อัตราผู้ไม่รู้หนังสือก็ลดลงเอง จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ! แม้จริงแล้ว จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสผู้คนในพื้นที่ พวกเราชาว กศน. ตระหนักดีว่าผู้ไม่รู้หนังสือนั้นทุกกลุ่มอายุ อาศัยอยู่ทั้งในเมือง ในชนบท ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล แม้ใจกลางกรุงเทพมหานครก็สามารถหาผู้ไม่รู้หนังสือได้ไม่ยาก
ผู้ไม่รู้หนังสือส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี คุณภาพชีวิตด้อยค่าและถูกกันออกไปอยู่ชายขอบของสังคม ลองจินตนาการดูถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบ้างว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนยากจนเจ็บป่วยอ่านไม่ออก แม้แต่ฉลากยาที่ติดอยู่ข้างกล่องหรือซองใส่ยา แล้วกินยาเข้าไปโดยไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร! จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้ถูกขอให้ทำสัญญาที่ตนเองอ่านไม่ออกเลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่สามารถอ่านหนังสือหรือข้อความใดๆ ได้เลย จึงต้องฟังคนอื่นบอกให้ฟังและทำตามอย่างเดียว โดยไม่มีช่องทางอื่น ในการแสวงหาความรู้! จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้ไม่รู้หนังสือที่เป็นกำลังแรงงาน ในกระบวนการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม! คนเหล่านี้ท้ายที่สุดแล้วไม่มีทางเลือกอื่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงานของตนเอง คงจะมีบ้างเพียงบางส่วนกระมัง ที่เอาตัวรอดไปได้เพราะเหตุปัจจัยอื่น แต่ไม่ทุกคน
สังคมไทยเราอาจจะประเมินตนเองไว้คอ่นข้างสูงเกินความจริงว่าการไม่รู้หนังสือน่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และเชื่อว่าคนจำนวนมากที่รู้หนังสือแล้วจะนำทางสังคมนี้ให้ไปรอด แต่เราก็ละเลยที่จะหันกลับมาทบทวนดูตัวเราว่า ในกลุ่มคนที่ว่ารู้หนังสือนั้นรู้กันแค่ไหน รู้แบบอ่านออกเป็นนกแก้วนกขุนทอง เขียนได้แบบงูๆ ปลาๆ หรือถึงระดับคิดวิเคราะห์ได้ด้วย และหากจะตั้งมาตรฐานการรู้หนังสือให้สูงขึ้นถึงขั้นแสวงหาความรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว เราคงจะเห็นช่องว่างของคุณภาพการศึกษาอย่างมโหฬาร
4 ทศวรรษของการเดินทางของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ก็ดี กรมการศึกษานอกโรงเรียนในอดีตก็ดี จนถึงสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบันก็ดี เป็นการเดินโดยลำพังเพื่อแก้ปัญหาที่ใหญ่มากของการศึกษาแม้จว่าจะมีกัลยาณมิตรหลายคนหลายองค์กรช่วยกันทำงานก็ตาม ความพยายามที่จะพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน การอบรมครู มีการศึกษาวิจัยและรณรงค์ส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ มากมาย ก็นับเป็นความพยายามที่จะแยกรับปัญหาสำคัญของประเทศ
แม้ว่าปัญหาการไม่รู้หนังสือจะคงอยู่ไม่หมดสิ้นไปง่ายๆ จากสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกันบริบทของสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ตลอดจนวิถีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป โลกกำลังกล่าวถึงเศรษฐกิจ ฐานความรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คำจำกัดความของ Literacy ที่เราแปลว่า การรู้หนังสืออ่านออกเขียนได้นั้น ได้ขยายความไปมากกว่านั้น ปัจจุบันมีการกล่าวถึง Computer Literacy, Science Literac6, health Literacy, Democracy Literacy ฯลฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมกำลังสร้างคำจำกัดความของ Literacy ขึ้นใหม่ ในบางประเทศมีการกำหนดคุณลักษณะของ Literacy เกือบเท่ากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาที่มากกว่าภาษาแม่ มีความรู้ความเข้าใจทางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สุขอนามัยการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ นี้คือความท้าทายใหม่ต่อการรู้หนังสือในยุคปัจจุบัน เพราะในขณะที่เรากำลังจะรณรงค์กันอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของคนไทย โลกได้ก้าวข้ามระดับของการรู้หนังสือให้สูงขึ้นไปอีก ยิ่งต้องวิ่งไล่กวดในเชิงคุณภาพของการศึกษา โอกาสที่คนไทยเราจะแข่งขันกันในเวทีโลกอย่างเท่าเทียมกันยิ่งห่างไกลออกไป
แต่กระนั้นเราก็ไม่ควรย่อท้อ ไม่ใช่เพราะกลไกลของบ้านเมืองของเราไม่ดี หากแต่สังคมไทยยังไม่ได้มีโอกาสเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมการรู้หนังสือและแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสืออย่างจริงจัง เราไม่ควรหวังว่า กศน. จะเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหานี้ต่อไปเพียงลำพัง แต่สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือเราควรจะถือว่าปัยหาคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน ปัญหาการไม่รู้หนังสือควรอยู่ในความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนและช่วยกัน โดยถือว่าการรู้หนังสือเป็นวาระแห่งชาติอีกประเด็นหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2551 เป็นปีแรกที่เริ่มมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขอบข่ายของงานกว้างขวางครอบคลุมกิจการเรียนรู้ของผู้คนในชาติหลายมิติ แต่เพื่อที่จะให้การรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือเด่นชัดขึ้น จึงได้ยกเอาวันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
เหตุผลสำคัญก็คือ สถานการณ์การรู้หนังสือของประชาชนคนไทยในปัจจุบันแม้จะดีขึ้น กล่าวคือมีประชากรที่รู้หนังสือถึงร้อยละ 98 มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ แต่ก็มีคำถามที่น่าสนใจก็คือผู้คนจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรไทย 63 ล้านคนคือประชากรจำนวนกว่า 1.2 ล้านคน นั้น เป็นใครอยู่ที่ไหน ไม่รู้หนังสือจริงหรือ ปัจจุบันคนเหล่านี้ทำอะไรอยู่และสิ่งที่เขาทำนั้นเกิดผลอย่างไรต่อตัวเขาเอง ครอบครัวชุมชนและประเทศบ้าง
เชื่อหรือไม่ว่าในจำนวน 1.2 ล้านกว่าคนนี้ บางทีอาจอยู่ใกล้ตัวเรานี่เอง และเราก็คงได้ข่าวอยู่เสมอว่าเกิดผู้ไม่รู้หนังสือใหม่ขึ้นทุกวัน อันเนื่องมาจากการลืมหนังสือ เพราะชีวิตในแต่ละวันไม่ได้ใช้หรือเกี่ยวข้องกับหนังสือเลย หลายท่านอาจจะนึกว่าผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุ แล้วทิ้งไว้เฉยๆ อัตราผู้ไม่รู้หนังสือก็ลดลงเอง จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ! แม้จริงแล้ว จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสผู้คนในพื้นที่ พวกเราชาว กศน. ตระหนักดีว่าผู้ไม่รู้หนังสือนั้นทุกกลุ่มอายุ อาศัยอยู่ทั้งในเมือง ในชนบท ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล แม้ใจกลางกรุงเทพมหานครก็สามารถหาผู้ไม่รู้หนังสือได้ไม่ยาก
ผู้ไม่รู้หนังสือส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี คุณภาพชีวิตด้อยค่าและถูกกันออกไปอยู่ชายขอบของสังคม ลองจินตนาการดูถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบ้างว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนยากจนเจ็บป่วยอ่านไม่ออก แม้แต่ฉลากยาที่ติดอยู่ข้างกล่องหรือซองใส่ยา แล้วกินยาเข้าไปโดยไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร! จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้ถูกขอให้ทำสัญญาที่ตนเองอ่านไม่ออกเลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่สามารถอ่านหนังสือหรือข้อความใดๆ ได้เลย จึงต้องฟังคนอื่นบอกให้ฟังและทำตามอย่างเดียว โดยไม่มีช่องทางอื่น ในการแสวงหาความรู้! จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้ไม่รู้หนังสือที่เป็นกำลังแรงงาน ในกระบวนการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม! คนเหล่านี้ท้ายที่สุดแล้วไม่มีทางเลือกอื่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงานของตนเอง คงจะมีบ้างเพียงบางส่วนกระมัง ที่เอาตัวรอดไปได้เพราะเหตุปัจจัยอื่น แต่ไม่ทุกคน
สังคมไทยเราอาจจะประเมินตนเองไว้คอ่นข้างสูงเกินความจริงว่าการไม่รู้หนังสือน่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และเชื่อว่าคนจำนวนมากที่รู้หนังสือแล้วจะนำทางสังคมนี้ให้ไปรอด แต่เราก็ละเลยที่จะหันกลับมาทบทวนดูตัวเราว่า ในกลุ่มคนที่ว่ารู้หนังสือนั้นรู้กันแค่ไหน รู้แบบอ่านออกเป็นนกแก้วนกขุนทอง เขียนได้แบบงูๆ ปลาๆ หรือถึงระดับคิดวิเคราะห์ได้ด้วย และหากจะตั้งมาตรฐานการรู้หนังสือให้สูงขึ้นถึงขั้นแสวงหาความรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว เราคงจะเห็นช่องว่างของคุณภาพการศึกษาอย่างมโหฬาร
4 ทศวรรษของการเดินทางของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ก็ดี กรมการศึกษานอกโรงเรียนในอดีตก็ดี จนถึงสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบันก็ดี เป็นการเดินโดยลำพังเพื่อแก้ปัญหาที่ใหญ่มากของการศึกษาแม้จว่าจะมีกัลยาณมิตรหลายคนหลายองค์กรช่วยกันทำงานก็ตาม ความพยายามที่จะพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน การอบรมครู มีการศึกษาวิจัยและรณรงค์ส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ มากมาย ก็นับเป็นความพยายามที่จะแยกรับปัญหาสำคัญของประเทศ
แม้ว่าปัญหาการไม่รู้หนังสือจะคงอยู่ไม่หมดสิ้นไปง่ายๆ จากสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกันบริบทของสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ตลอดจนวิถีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป โลกกำลังกล่าวถึงเศรษฐกิจ ฐานความรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คำจำกัดความของ Literacy ที่เราแปลว่า การรู้หนังสืออ่านออกเขียนได้นั้น ได้ขยายความไปมากกว่านั้น ปัจจุบันมีการกล่าวถึง Computer Literacy, Science Literac6, health Literacy, Democracy Literacy ฯลฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมกำลังสร้างคำจำกัดความของ Literacy ขึ้นใหม่ ในบางประเทศมีการกำหนดคุณลักษณะของ Literacy เกือบเท่ากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาที่มากกว่าภาษาแม่ มีความรู้ความเข้าใจทางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สุขอนามัยการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ นี้คือความท้าทายใหม่ต่อการรู้หนังสือในยุคปัจจุบัน เพราะในขณะที่เรากำลังจะรณรงค์กันอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของคนไทย โลกได้ก้าวข้ามระดับของการรู้หนังสือให้สูงขึ้นไปอีก ยิ่งต้องวิ่งไล่กวดในเชิงคุณภาพของการศึกษา โอกาสที่คนไทยเราจะแข่งขันกันในเวทีโลกอย่างเท่าเทียมกันยิ่งห่างไกลออกไป
แต่กระนั้นเราก็ไม่ควรย่อท้อ ไม่ใช่เพราะกลไกลของบ้านเมืองของเราไม่ดี หากแต่สังคมไทยยังไม่ได้มีโอกาสเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมการรู้หนังสือและแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสืออย่างจริงจัง เราไม่ควรหวังว่า กศน. จะเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหานี้ต่อไปเพียงลำพัง แต่สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือเราควรจะถือว่าปัยหาคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน ปัญหาการไม่รู้หนังสือควรอยู่ในความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนและช่วยกัน โดยถือว่าการรู้หนังสือเป็นวาระแห่งชาติอีกประเด็นหนึ่ง
CALL CENTER
1660
ดร. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ Sunday, September 07, 2008
หลักการ แนวคิด การจัดงาน "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ประจำปี 2559
1. โดยปกติแนวคิด หรือ Theme ในการจัดงานจะยึดหลักแนวคิดที่สอดรับกับสารผู้อำนวยการใหญ่ ยูเนสโก ที่มุ่งหวังจะให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนที่ประชาชนยากจนและด้อยโอกาสส่วนใหญ่ในสังคมโลกกำลังเผชิญ และต้องการได้รับความช่วยเหลือ เยียวยาหรือข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา โดยการผนึกกำลังร่วมกันของประเทศสมาชิก สำหรับ Theme ของ ILD ในปีนี้ คือ Reading the Past, Writing the Future (อ่านอดีต เขียนอนาคต) เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 50 ปี ของวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ การนิยามคำว่า "การรู้หนังสือ" ในอดีตแค่เพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น คงไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างราบรื่น มีความสุขในศตวรรษที่ 21 หรือโลกสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบัน แต่ควรเป็นการรู้หนังสือที่รู้ถึงการคิดวิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้รอบ และรู้เท่าทัน หรือพูดสั้นๆ ว่า "รู้จริง" นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
2. เลขาธิการ กศน. ให้แนวคิดในการจัดงานว่า ต้องการสะท้อนและกระตุ้นให้ประชาชนในทุกพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ และความสำคัญในการจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พิธีเปิดขอให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ การจัดงานขอให้จัดงานเล็ก มีคุณภาพ แต่สะท้อนภาพว่า กศน.มีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยหากสามารถจัดงานในระดับอำเภอ/เขต และตำบล/แขวง ก็จะดีมาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับในสำนักงาน กศน.ภาคีเครือข่าย ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของ "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ"
2. เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยเข้าใจว่าการรู้หนังสือเป็นรากฐานของการนำไปใช้แสวงหาความรู้ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ในฐานะประเทศสมาชิกของยูเนสโกพร้อมกันทั่วโลก
สถานที่จัดงาน
ส่วนกลาง : ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนภูมิภาค : ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ในแต่ละระดับ
กิจกรรมหลัก
1. การอ่านสารผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก (สารเป็นภาษาอังกฤษ)
ส่วนกลาง : อ่านโดยผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพ
ส่วนภูมิภาค : บันทึกเทปการอ่านสารโดยผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพ หรือผู้แทนและส่งเทปไปให้จังหวัดฉายช่วงพิธีเปิดงาน
2. การอ่านสารนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2559
ส่วนกลาง : เปิดเทปการอ่านสารโดยนายกรัฐมนตรี หรือประธานในพิธีเปิดงานเป็นผู้อ่านสาร (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
ส่วนภูมิภาค : อ่านสารโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน
3. การถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ETV ตลอดการจัดงาน
4. การจัดนิทรรศการ
แสดงให้เห็นภารกิจของ กศน.และสอดรับกับแนวคิดหลัก "อ่านอดีต เขียนอนาคต" โดยเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และนโยบายประชารัฐของรัฐบาล
ส่วนกลาง : มีนิทรรศการบรรณสัญจร (Book Voyage) หรือแสดงความเป็นมาของกิจกรรมบรรณสัญจร และผลการดำเนินงานของกิจกรรมดังกล่าว และหากมีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมว่างอยู่ให้ สำนักงาน กศน.กทม.เข้าร่วมจัดนิทรรศการเพิ่มเติม
ส่วนภูมิภาค : จัดนิทรรศการให้สอดรับกับแนวคิดข้างต้น ตามความพร้อมและความเหมาะสม
5. การเสวนาทางวิชาการ
ส่วนกลาง : การแสดงปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง "(ร่าง) พรบ.การศึกษาตลอดชีวิต" โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร
ส่วนภูมิภาค : ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละพื้นที่