วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กิจกรรมวันสุนทรภู่
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559
การอบรมบล็อก
การอบรมหลักสูตรการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในระบบออนไลน์ด้วยบล็อก
ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิจิตร
***************************
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในระบบออนไลน์ด้วยบล็อกมุ่งให้ความรู้และฝึกทักษะเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณลักษณะ ดังนี้
๑. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้
๒. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสื่อการเรียนรู้ในระบบออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก
๓. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น/แบบสอบถามความพึงพอใจในระบบออนไลน์
วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เรื่องเล่าของครู
การจัดการเรียนการสอนสาระทักษะการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
--------------------------------------------------
นางสาวเพชรรัตน์ ทุมเสน
ครู กศน.ตำบล
เป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ ความเป็นไทย ซึ่งจะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวผู้สอนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูผู้สอนถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจ ครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อน โดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามา รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ หมั่นศึกษา เพิ่มพูนความรู้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้น ต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา จะได้รู้จัก และเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
ข้าพเจ้าได้ใช้วิธี “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่สามารถเริ่ม ต้น และปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานศึกษา เช่น กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยช่วยกันปลูกต้นไม้ภายในสถานศึกษา การกำจัดขยะในสถานศึกษาอย่างถูกวิธี การสำรวจทรัพยากรของชุมชน ฯลฯ
สถานศึกษาของข้าพเจ้า คือ กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้กำหนดแผนงานโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะการเรียนรู้การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบด้วย ๕ สาระ คือ สาระความรู้พื้นฐาน สาระทักษะการดำเนินชีวิต สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการเรียนรู้ และสาระการพัฒนาสังคม โดยปลูกฝังผู้เรียนผ่านกิจกรรมที่ครูเป็นผู้คิดขึ้นมา โดยครูในแต่ละสาระจะต้องมานั่งพิจารณาก่อนว่า จะเริ่มต้นปลูกฝัง แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากจุดไหน ซึ่งครูทุกคนจะมาร่วมกันระดมความคิด ร่วมกันทำ สามัคคีกันในกระบวนการหารือหลังจากที่ครูได้ค้นหากิจกรรมที่จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ครูควรจะต้องตั้ง เป้าหมายการสอนก่อนว่าครูจะสอนเด็กให้รู้จักพัฒนาตนเองได้อย่างไร ซึ่งในกลุ่มสาระที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบคือสาระทักษะการเรียนรู้ ข้าพเจ้ามีแนวคิดว่า การจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจ และสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เราต้องสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนความคิดให้อยากทำด้วยตนเอง โดยการนำผู้เรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
----------------------------
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
------------------------------
นางพัชรินทร์ บัวสนิท
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2522 ดังนี้ “การให้บริการศึกษานั้น กล่าวสั้นๆ โดยความหมายรวบยอด คือ การช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ไปสู่ความเจริญและมีความสุขตามอัตภาพ” จึงได้น้อมนำมาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้เรียนและผู้รับบริการทุกกลุ่ม รวมทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการบริหารจัดการพร้อมทั้งจัดกระบวนการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับทุกรายวิชาและทุกกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยของผู้เรียนให้ “อยู่อย่างพอเพียง” โดยมีการขยายผลการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ กศน.ตำบล ในสังกัด กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้างทั้ง 7 ตำบลขึ้น กำหนดเป้าหมายในการขยายผล เพื่อให้ กศน.ตำบลจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีแหล่งเรียนรู้อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง มีขั้นตอนและวิธีการตามระบบคุณภาพ PDCA โดยมีวิธีการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
จากการดำเนินงาน ก่อให้เกิดบุคคลพอเพียงต้นแบบ ครอบครัวพอเพียง ชุมชนพอเพียง และสถานพอเพียงเพิ่มขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)