วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ยางนา : ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใย


เรื่องเล่าต้นยางนา ที่ท่ายาง ร.9 ทรงอนุรักษ์ เพาะเมล็ดปลูก ที่สวนจิตรฯ (25 ต.ค.2559 00.20)

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับการปกปักรักษาพันธุ์ต้นยางนาใน อ.ท่ายาง ที่สองข้างทางมีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก อยากจะสงวนป่ายางไว้แต่ติดขัด สุดท้ายทรงนำเมล็ดไปเพาะและปลูกไว้ที่วังสวนจิตรฯ เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของ จ.เพชรบุรี…

วันที่ 24 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพยายามปกปักรักษาต้นยางนาจากริมถนนเพชรเกษม จ.เพชรบุรี จนกระทั่ง 2504 ได้ทรงนำเมล็ดพันธุ์ยางนา ไปทรงปลูก ณ วังสวนจิตรลดา พร้อมกับมีพระราชปรารภว่า

"ไม้ยางนาในประเทศไทย ได้ถูกตัดฟันไปใช้สอย และทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่า หากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริม และดำเนินการปลูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณไม้ยางนาจะลดน้อยลงไปทุกที จึงควรที่จะได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนา เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ...”

จากนั้น ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่ง เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่ายางแห่งนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรทำไร่ ทำสวน ในบริเวณนั้นมาก จึงทรงเปลี่ยนวิธีด้วยการนำเอาเมล็ดยางนาบริเวณนั้นไปเพาะขยายพันธุ์ในกระถาง ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล และทรงนำไปปลูกในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2504 จำนวน 1,096 ต้น

แม้ยางนาจากแหล่งกำเนิดเหล่านั้นจะสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้น ยังอนุรักษ์ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ซึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนิสิต นักศึกษา แทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

นายบรรพต กำไลแก้ว อดีตนายก อบต.ถ้ำรงค์ ได้พูดถึงความปลาบปลื้มปีติที่ในหลวงได้ทรงนำเมล็ดพันธุ์ยางนาจาก ต.ถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี (อยู่ติดกับอำเภอท่ายาง) แห่งนี้ไปปลูกไว้ในวังสวนจิตรลดา ทรงสอนให้เห็นว่า ไม้ยางนานี้ เป็นไม้ที่มีประโยชน์ควรที่จะอนุรักษ์และปลูกเพิ่มกันไว้ เนื่องจากจะใช้ในการนำไม้มาสร้างบ้าน สร้างเรือนได้ แต่ก่อน ใช้น้ำยางมาทำขี้ไต้ จุดไฟส่องแสงสว่างนำทาง เป็นเชื้อเพลิงและเป็นยารักษาโรคได้ ปัจจุบันยางนาเกือบจะหมดไป แทบจะไม่มีการปลูกเพิ่ม เพราะเป็นไม้หวงห้าม ปลูกได้ แต่เมื่อจะตัดต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตก่อนจึงจะตัดมาใช้ได้ แม้ว่าจะอยู่ในที่ดินมีเอกสารสิทธิ

"ในปี 2560 นี้ ผมพร้อมด้วยชาวตำบลถ้ำรงค์ จะรวบรวมเมล็ดมาขยายพันธุ์ และเชิญชวนท้องถิ่นต่างๆ ช่วยกันปลูกเพิ่ม เพื่อให้เป็นไม้ประวัติศาสตร์ของชาว จ.เพชรบุรี ที่ทรงนำไปปลูกในวังสวนจิตลดา อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงถ่ายทอดให้เห็นความสำคัญของไม้ยางนา จากป่ายางแห่งนี้ต่อไป" นายบรรพต กล่าว.



ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/763212

หลุมพอเพียง

นั่งที่ไหน อ่านที่นั่น
หลุมพอเพียง คือ การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว (ขนาด 80 - 100 เซนติเมตร) ระยะห่างระหว่างหลุม 4 x 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม อาจปลูกตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน รอบบ่อน้ำ ทางเดิน แม้แต่พื้นที่เพียง 4 - 5 ตารางเมตรก็ปลูกได้ ซึ่งพอที่เกษตรกรจะมีพื้นที่ มีเวลา หรือมีกำลังพอทำได้ตามทางแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนขยายผลสู่โครงการทฤษฎี ใหม่ ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน (จาก 1 หลุมเป็น 1 ไร่ และเป็น 10 ไร่ ในโอกาสต่อไป) โดยปลูกไม้ 4 - 5 ประเภทในหลุม เดียว (5 - 10 กว่าชนิดพืช) เพื่อลดภาระการปลูก/รดน้ำ/กำจัดศัตรูพืช/ดูแลรักษา ให้ทุกอย่างเกื้อกูลกันเอง ไม้ที่ปลูก ได้แก่ 1. ไม้พี่เลี้ยง คือ ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ ความชื้น โดยเฉพาะช่วงร้อน/แล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ควรปลูกทิศ ตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดงจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี 2. ไม้ฉลาด/ไม้ข้ามปี คือ ไม้ที่เอาตัวรอดได้ดีเก็บผลนานพอสมควร เช่น ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือน และเรื่อยๆไป 3. ไม้ปัญญาอ่อน/ไม้รายวัน คือ ไม้ล้มลุก ปลูกง่าย ตายเร็ว ต้องคอยปลูกและดูแลใกล้ชิด แต่เก็บผลได้ไว เช่น พริก มะเขือ กระเพรา โหระพา ตะไคร้ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า ฯลฯ เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน 4. ไม้บำนาญ คือ ไม้ผลยืนต้นที่ใช้เวลาปลูกนานหน่อย (2 - 4 ปี) แต่เมื่อให้ผลผลิตแล้ว สามารถเก็บกิน เก็บขาย ได้เรื่อยๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะขาม กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา หรือ (ปลูกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง) 5. ไม้มรดก คือ ไม้ใช้สอย ไม้ยืนต้นอายุยืน ที่ใช้เวลาปลูกนาน เก็บไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต หรือเป็นมรดกให้ลูกหลาน ถ้าขายจะได้เงินก้อนใหญ่ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา พยุง ชิงชัน ซึ่งจะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ปลูกตรงข้ามกับกล้วย โดยใช้แนวคิดที่ว่า หากปลูกไม้ยืนต้น/ไม้ผลยืนต้นอย่างเดียว ต้องรออีก 3 – 10 ปี หรือมากกว่านั้นกว่าจะได้ ผลผลิต (ระหว่างนั้นจะกินอะไร ?) พื้นที่ใต้ร่มเงาหรือบริเวณหลุมที่มีการเตรียมดิน/ใส่ปุ๋ย/ปรับปรุงดิน/รดน้ำ/ดูแล ยัง สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก แทนที่จะปล่อยให้วัชพืชขึ้นเป็นภาระที่ต้องคอยกำจัด การปลูกพืชบางอย่าง(หลายอย่าง)มี กลิ่นเฉพาะที่ช่วยไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าท้าลายหรือไม่ท้าความเสียหาย นอกจากนั้นยังเป็นกุศลบายที่ท้าให้พืชหลักที่ ต้องการปลูก เช่น ไม้ผลยืนต้น/ไม้ป่ายืนต้น เจริญเติบโตและมีโอกาสรอดสูง เพราะผู้ปลูกจะคอยห่วงใย มั่นดูแล/รดน้ำ/ใส่ ปุ๋ย/พรวนดิน ท้าให้พืชหลักดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าปกติอีกด้วย และหากพืชชนิดใดชนิดหนึ่งจะเบียดเบียนพืชอื่นมาก เกินไป ให้คอยควบคุมให้เหมาะสม มีการตัดแต่งทรงพุ่ม จัดพืช/เถาเลื้อยให้เหมาะสม และให้มีกล้วยเพียง 1 - 2 ต้น เท่านั้น


วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โครงการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โครงการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

           นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เป็นอันมาก เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยและความเจริญของประเทศไทย สมดังพระราชปณิธานที่ว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนักจึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้ทรงเป็น “มหาราช” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จึงจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้สาธารณชนได้ประจักษ์ถึงน้ำพระหฤทัย พระเมตตา ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย และเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติและรักอธิปไตยของไทย ทะนุบำรุงและปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่นับถือ การเทิดทูนและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

จัดโต๊ะหมู่บูชาเครื่องทองน้อยและโต๊ะลงนามถวายความไว้อาลัย



จัดนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ




จัดกิจกรรมสาธิตการย้อมผ้า 




สาธิตการทำริบบิ้น   สีดำไว้อาลัย



วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

6 ไอเดีย ทำริบบิ้นสีดำ ไว้ทุกข์ แบบง่ายๆ

6 ไอเดีย ทำริบบิ้นสีดำ ไว้ทุกข์ แบบง่ายๆ

วิธีทำ ริบบิ้นสีดำ ไว้ทุกข์ ถวายอาลัย ถ้าไม่มีเสื้อดำ

วิธีทำ ริบบิ้นสีดำ ไว้ทุกข์ ถวายอาลัย ถ้าไม่มีเสื้อดำ

http://women.truelife.com/detail/52151

การแต่งกายไว้ทุกข์ ชุดดำ ควรแต่งอย่างไรให้สุภาพ

การแต่งกายไว้ทุกข์ ชุดดำ ควรแต่งอย่างไรให้สุภาพ


ศธ.ออกแนวปฏิบัติไว้อาลัยในหลวง

ศธ.ออกแนวปฏิบัติไว้อาลัยในหลวง

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

8 กันยายน: วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ


8 กันยายน "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" 


ความเป็นมา

            ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2510 โดยกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี หลังจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่กรุงเตหะราน เมื่อปี ค.ศ. 1965 และมีมติให้ถือเอาวันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นที่ที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือ (International literacy Day) และเริ่มจัดงานเพื่อรณรงค์ส่งเสริมกระตุ้นเตือนสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ เมื่อ 8 กันยายน 2550 เป็นต้นมา
          จากการจัดงานเล็กๆ ภายในกองการศึกษาผู้ใหญ่และตามโรงเรียนต่างๆ แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กองการศึกษาผู้ใหญ่จึงจัดงานวันการศึกษาผู้ใหญ่แห่งชาติขึ้น ในวันที่ 8 กันยายน เมื่อมีการสถาปนากรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ก็มีการจัดงานวันการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นในวันดังกล่าว และได้ถือว่าวันที่ 8 กันยายน เป็นวันการศึกษานอกโรงเรียนด้วย แต่กระนั้นก็ตามสาระสำคัญของงานในวันดังกล่าวก็ยังให้ความสำคัญในฐานะวันที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือตลอดมา การจัดงานในวันที่ 8 กันยายนขยายตัวจากการจัดงานเล็กๆ มาสู่การจัดงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนมาด้วยกันและถือว่าการรู้หนังสือเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการศึกษานอกโรงเรียน
          ปี พ.ศ. 2551 เป็นปีแรกที่เริ่มมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขอบข่ายของงานกว้างขวางครอบคลุมกิจการเรียนรู้ของผู้คนในชาติหลายมิติ แต่เพื่อที่จะให้การรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือเด่นชัดขึ้น จึงได้ยกเอาวันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
          เหตุผลสำคัญก็คือ สถานการณ์การรู้หนังสือของประชาชนคนไทยในปัจจุบันแม้จะดีขึ้น กล่าวคือมีประชากรที่รู้หนังสือถึงร้อยละ 98 มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ แต่ก็มีคำถามที่น่าสนใจก็คือผู้คนจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรไทย 63 ล้านคนคือประชากรจำนวนกว่า 1.2 ล้านคน นั้น เป็นใครอยู่ที่ไหน ไม่รู้หนังสือจริงหรือ ปัจจุบันคนเหล่านี้ทำอะไรอยู่และสิ่งที่เขาทำนั้นเกิดผลอย่างไรต่อตัวเขาเอง ครอบครัวชุมชนและประเทศบ้าง
          เชื่อหรือไม่ว่าในจำนวน 1.2 ล้านกว่าคนนี้ บางทีอาจอยู่ใกล้ตัวเรานี่เอง และเราก็คงได้ข่าวอยู่เสมอว่าเกิดผู้ไม่รู้หนังสือใหม่ขึ้นทุกวัน อันเนื่องมาจากการลืมหนังสือ เพราะชีวิตในแต่ละวันไม่ได้ใช้หรือเกี่ยวข้องกับหนังสือเลย หลายท่านอาจจะนึกว่าผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุ แล้วทิ้งไว้เฉยๆ อัตราผู้ไม่รู้หนังสือก็ลดลงเอง จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ! แม้จริงแล้ว จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสผู้คนในพื้นที่ พวกเราชาว กศน. ตระหนักดีว่าผู้ไม่รู้หนังสือนั้นทุกกลุ่มอายุ อาศัยอยู่ทั้งในเมือง ในชนบท ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล แม้ใจกลางกรุงเทพมหานครก็สามารถหาผู้ไม่รู้หนังสือได้ไม่ยาก
ผู้ไม่รู้หนังสือส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี คุณภาพชีวิตด้อยค่าและถูกกันออกไปอยู่ชายขอบของสังคม ลองจินตนาการดูถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบ้างว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนยากจนเจ็บป่วยอ่านไม่ออก แม้แต่ฉลากยาที่ติดอยู่ข้างกล่องหรือซองใส่ยา แล้วกินยาเข้าไปโดยไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร! จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้ถูกขอให้ทำสัญญาที่ตนเองอ่านไม่ออกเลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่สามารถอ่านหนังสือหรือข้อความใดๆ ได้เลย จึงต้องฟังคนอื่นบอกให้ฟังและทำตามอย่างเดียว โดยไม่มีช่องทางอื่น ในการแสวงหาความรู้! จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้ไม่รู้หนังสือที่เป็นกำลังแรงงาน ในกระบวนการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม! คนเหล่านี้ท้ายที่สุดแล้วไม่มีทางเลือกอื่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงานของตนเอง คงจะมีบ้างเพียงบางส่วนกระมัง ที่เอาตัวรอดไปได้เพราะเหตุปัจจัยอื่น แต่ไม่ทุกคน
          สังคมไทยเราอาจจะประเมินตนเองไว้คอ่นข้างสูงเกินความจริงว่าการไม่รู้หนังสือน่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และเชื่อว่าคนจำนวนมากที่รู้หนังสือแล้วจะนำทางสังคมนี้ให้ไปรอด แต่เราก็ละเลยที่จะหันกลับมาทบทวนดูตัวเราว่า ในกลุ่มคนที่ว่ารู้หนังสือนั้นรู้กันแค่ไหน รู้แบบอ่านออกเป็นนกแก้วนกขุนทอง เขียนได้แบบงูๆ ปลาๆ หรือถึงระดับคิดวิเคราะห์ได้ด้วย และหากจะตั้งมาตรฐานการรู้หนังสือให้สูงขึ้นถึงขั้นแสวงหาความรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว เราคงจะเห็นช่องว่างของคุณภาพการศึกษาอย่างมโหฬาร
4 ทศวรรษของการเดินทางของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ก็ดี กรมการศึกษานอกโรงเรียนในอดีตก็ดี จนถึงสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบันก็ดี เป็นการเดินโดยลำพังเพื่อแก้ปัญหาที่ใหญ่มากของการศึกษาแม้จว่าจะมีกัลยาณมิตรหลายคนหลายองค์กรช่วยกันทำงานก็ตาม ความพยายามที่จะพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน การอบรมครู มีการศึกษาวิจัยและรณรงค์ส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ มากมาย ก็นับเป็นความพยายามที่จะแยกรับปัญหาสำคัญของประเทศ
          แม้ว่าปัญหาการไม่รู้หนังสือจะคงอยู่ไม่หมดสิ้นไปง่ายๆ จากสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกันบริบทของสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ตลอดจนวิถีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป โลกกำลังกล่าวถึงเศรษฐกิจ ฐานความรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คำจำกัดความของ Literacy ที่เราแปลว่า การรู้หนังสืออ่านออกเขียนได้นั้น ได้ขยายความไปมากกว่านั้น ปัจจุบันมีการกล่าวถึง Computer Literacy, Science Literac6, health Literacy, Democracy Literacy ฯลฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมกำลังสร้างคำจำกัดความของ Literacy ขึ้นใหม่ ในบางประเทศมีการกำหนดคุณลักษณะของ Literacy เกือบเท่ากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาที่มากกว่าภาษาแม่ มีความรู้ความเข้าใจทางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สุขอนามัยการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ นี้คือความท้าทายใหม่ต่อการรู้หนังสือในยุคปัจจุบัน เพราะในขณะที่เรากำลังจะรณรงค์กันอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของคนไทย โลกได้ก้าวข้ามระดับของการรู้หนังสือให้สูงขึ้นไปอีก ยิ่งต้องวิ่งไล่กวดในเชิงคุณภาพของการศึกษา โอกาสที่คนไทยเราจะแข่งขันกันในเวทีโลกอย่างเท่าเทียมกันยิ่งห่างไกลออกไป
          แต่กระนั้นเราก็ไม่ควรย่อท้อ ไม่ใช่เพราะกลไกลของบ้านเมืองของเราไม่ดี หากแต่สังคมไทยยังไม่ได้มีโอกาสเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมการรู้หนังสือและแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสืออย่างจริงจัง เราไม่ควรหวังว่า กศน. จะเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหานี้ต่อไปเพียงลำพัง แต่สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือเราควรจะถือว่าปัยหาคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน ปัญหาการไม่รู้หนังสือควรอยู่ในความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนและช่วยกัน โดยถือว่าการรู้หนังสือเป็นวาระแห่งชาติอีกประเด็นหนึ่ง

CALL CENTER
1660
ดร. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ  Sunday, September 07, 2008

หลักการ แนวคิด การจัดงาน "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ประจำปี 2559

          1. โดยปกติแนวคิด หรือ Theme ในการจัดงานจะยึดหลักแนวคิดที่สอดรับกับสารผู้อำนวยการใหญ่ ยูเนสโก ที่มุ่งหวังจะให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนที่ประชาชนยากจนและด้อยโอกาสส่วนใหญ่ในสังคมโลกกำลังเผชิญ และต้องการได้รับความช่วยเหลือ เยียวยาหรือข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา โดยการผนึกกำลังร่วมกันของประเทศสมาชิก สำหรับ Theme ของ ILD ในปีนี้ คือ Reading the Past, Writing the Future (อ่านอดีต เขียนอนาคต) เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 50 ปี ของวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ การนิยามคำว่า "การรู้หนังสือ" ในอดีตแค่เพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น คงไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างราบรื่น มีความสุขในศตวรรษที่ 21 หรือโลกสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบัน แต่ควรเป็นการรู้หนังสือที่รู้ถึงการคิดวิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้รอบ และรู้เท่าทัน หรือพูดสั้นๆ ว่า "รู้จริง" นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
          2. เลขาธิการ กศน. ให้แนวคิดในการจัดงานว่า ต้องการสะท้อนและกระตุ้นให้ประชาชนในทุกพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ และความสำคัญในการจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พิธีเปิดขอให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ การจัดงานขอให้จัดงานเล็ก มีคุณภาพ แต่สะท้อนภาพว่า กศน.มีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยหากสามารถจัดงานในระดับอำเภอ/เขต และตำบล/แขวง ก็จะดีมาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับในสำนักงาน กศน.ภาคีเครือข่าย ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของ "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ"
          2. เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยเข้าใจว่าการรู้หนังสือเป็นรากฐานของการนำไปใช้แสวงหาความรู้ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
          3. เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ในฐานะประเทศสมาชิกของยูเนสโกพร้อมกันทั่วโลก

สถานที่จัดงาน

          ส่วนกลาง          : ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
          ส่วนภูมิภาค       : ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ในแต่ละระดับ

กิจกรรมหลัก

          1. การอ่านสารผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก (สารเป็นภาษาอังกฤษ)
          ส่วนกลาง          : อ่านโดยผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพ
          ส่วนภูมิภาค       : บันทึกเทปการอ่านสารโดยผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพ หรือผู้แทนและส่งเทปไปให้จังหวัดฉายช่วงพิธีเปิดงาน
          2. การอ่านสารนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2559
          ส่วนกลาง          : เปิดเทปการอ่านสารโดยนายกรัฐมนตรี หรือประธานในพิธีเปิดงานเป็นผู้อ่านสาร (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
          ส่วนภูมิภาค       : อ่านสารโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน
          3. การถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ETV ตลอดการจัดงาน
          4. การจัดนิทรรศการ
              แสดงให้เห็นภารกิจของ กศน.และสอดรับกับแนวคิดหลัก "อ่านอดีต เขียนอนาคต" โดยเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และนโยบายประชารัฐของรัฐบาล
          ส่วนกลาง          : มีนิทรรศการบรรณสัญจร (Book Voyage) หรือแสดงความเป็นมาของกิจกรรมบรรณสัญจร และผลการดำเนินงานของกิจกรรมดังกล่าว และหากมีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมว่างอยู่ให้ สำนักงาน กศน.กทม.เข้าร่วมจัดนิทรรศการเพิ่มเติม
          ส่วนภูมิภาค       : จัดนิทรรศการให้สอดรับกับแนวคิดข้างต้น ตามความพร้อมและความเหมาะสม
        5. การเสวนาทางวิชาการ
          ส่วนกลาง          : การแสดงปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง "(ร่าง) พรบ.การศึกษาตลอดชีวิต" โดย ดร.วิวัฒน์  ศัลยกำธร
          ส่วนภูมิภาค       : ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละพื้นที่



วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กิจกรรมวันสุนทรภู่

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่กวีเอกของไทย


        ห้องสมุดประชาชนอำเภอโพธิ์ประทับช้างจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในวันสุนทรภู่ ในวันที่ 27 มิถุนายน 2559 ประกอบด้วยกิจกรรม แฟนพันธ์แท้สุนทรภู่, ภาษาสุภาษิต, ระบายสีตัวละครเรื่องพระอภัยมณี, บอร์ดนิทรรศการประวัติสุนทรภู่ภายในห้องสมุดฯ

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การอบรมบล็อก

การอบรมหลักสูตรการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในระบบออนไลน์ด้วยบล็อก
ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิจิตร


***************************

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

                   หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในระบบออนไลน์ด้วยบล็อกมุ่งให้ความรู้และฝึกทักษะเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณลักษณะ ดังนี้

๑. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้

๒. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสื่อการเรียนรู้ในระบบออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก

๓. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น/แบบสอบถามความพึงพอใจในระบบออนไลน์










วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เรื่องเล่าของครู

การจัดการเรียนการสอนสาระทักษะการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง 

--------------------------------------------------
นางสาวเพชรรัตน์ ทุมเสน
ครู กศน.ตำบล

                         เป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ ความเป็นไทย ซึ่งจะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวผู้สอนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูผู้สอนถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจ ครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อน โดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามา รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ หมั่นศึกษา เพิ่มพูนความรู้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้น ต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา จะได้รู้จัก และเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง 

                    ข้าพเจ้าได้ใช้วิธี “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่สามารถเริ่ม ต้น และปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานศึกษา เช่น กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยช่วยกันปลูกต้นไม้ภายในสถานศึกษา การกำจัดขยะในสถานศึกษาอย่างถูกวิธี การสำรวจทรัพยากรของชุมชน ฯลฯ

                   สถานศึกษาของข้าพเจ้า คือ กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้กำหนดแผนงานโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะการเรียนรู้การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบด้วย ๕ สาระ คือ สาระความรู้พื้นฐาน สาระทักษะการดำเนินชีวิต สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการเรียนรู้ และสาระการพัฒนาสังคม โดยปลูกฝังผู้เรียนผ่านกิจกรรมที่ครูเป็นผู้คิดขึ้นมา โดยครูในแต่ละสาระจะต้องมานั่งพิจารณาก่อนว่า จะเริ่มต้นปลูกฝัง แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากจุดไหน ซึ่งครูทุกคนจะมาร่วมกันระดมความคิด ร่วมกันทำ สามัคคีกันในกระบวนการหารือหลังจากที่ครูได้ค้นหากิจกรรมที่จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ครูควรจะต้องตั้ง เป้าหมายการสอนก่อนว่าครูจะสอนเด็กให้รู้จักพัฒนาตนเองได้อย่างไร ซึ่งในกลุ่มสาระที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบคือสาระทักษะการเรียนรู้ ข้าพเจ้ามีแนวคิดว่า การจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจ และสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เราต้องสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนความคิดให้อยากทำด้วยตนเอง โดยการนำผู้เรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง

 ----------------------------



ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา



ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
------------------------------
นางพัชรินทร์  บัวสนิท
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง

                   จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2522 ดังนี้ “การให้บริการศึกษานั้น กล่าวสั้นๆ โดยความหมายรวบยอด คือ การช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ไปสู่ความเจริญและมีความสุขตามอัตภาพ” จึงได้น้อมนำมาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้เรียนและผู้รับบริการทุกกลุ่ม รวมทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการบริหารจัดการพร้อมทั้งจัดกระบวนการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับทุกรายวิชาและทุกกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยของผู้เรียนให้ “อยู่อย่างพอเพียง” โดยมีการขยายผลการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ กศน.ตำบล ในสังกัด กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้างทั้ง 7 ตำบลขึ้น กำหนดเป้าหมายในการขยายผล เพื่อให้ กศน.ตำบลจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีแหล่งเรียนรู้อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง มีขั้นตอนและวิธีการตามระบบคุณภาพ PDCA โดยมีวิธีการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา



จากการดำเนินงาน ก่อให้เกิดบุคคลพอเพียงต้นแบบ ครอบครัวพอเพียง ชุมชนพอเพียง และสถานพอเพียงเพิ่มขึ้น

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แนะนำห้องสมุด


Pop Up ง่ายๆ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

D.I.Y....Pop Up  

ป๊อปอัพ คือ เทคนิคการตัดและพับที่ใช้ตกแต่งการ์ด หรือ หนังสือนิทาน ทำให้เมื่อเปิดหน้านั้นออกมา จะเห็นเป็นรูปทรงต่างๆ เด้งขึ้นมา โดยสามารถเห็นรูปทรงนั้นๆ ได้สามมิติ หรือรอบทิศเลย แต่สิ่งที่ทำให้ป๊อปอัพมีเสน่ห์อันน่ามหัศจรรย์ก็คือ เมื่อเราปิดหน้านั้นลง ก็กลับมาเป็นการ์ดหรือหนังสือเรียบๆ เหมือนเดิม..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/297331

&วัสดุ และ อุปกรณ์

  1. กระดาษการ์ดสีตามต้องการ
  2. แผ่นรองตัด
  3. คัตเตอร์, กรรไกร
  4. ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
  5. กาวยู้ฮู, กาวลาเทกซ์ TOA
  6. กระดาษตกแต่ง
  7. สีไม้, สีเมจิก


&วิธีทำ
      1. เตรียมกระดาษการ์ดขนาดตามต้องการ พับครึ่งกระดาษ

         2. ฐานพับตรงกลาง วัดจากขอบสันการ์ด ทั้งสองด้านประมาณ 2 นิ้ว เจาะรูการ์ดด้านใน เป็นสี่เหลี่ยม ให้เปิดแล้วช่องสี่เหลี่ยมตั้งขึ้นมา





         3. นำกระดาษตกแต่งที่ตัดไว้ ตกแต่งให้สวยงามตามต้องการ

         4. เขียนข้อความที่ต้องการสื่อ ลงบนกระดาษ pop up

         5. นำชิ้นงานประกอบเข้าเป็นเล่ม จะได้สมุดทำมือจากฝีมือตัวเอง



JJJลองทำดูกันนะคะ รับรองว่าไม่ยาก....JJJ

ประวัติพระเจ้าเสือ

พระราชประวัติสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8
(สมเด็จพระเจ้าเสือ)พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยาและเป็นพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง

**********************
          ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ จุลศักราช 1023 ปีฉลูตรีศก (พ.ศ.2204) ขณะนั้น เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ป่วยลง และถึงแก่อนิจกรรม และทรงพระกรุณาพระราชทานฌาปนกิจตามอย่างเสนาบดีเสร็จแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ จึงมีพระราชโองการตรัสปรึกษาข้าราชการทั้งหลายว่า พระยาแสนหลวง เจ้าผู้ครอบนครเชียงใหม่ ได้แข็งเมืองต่อเรา จะต้องไปตีเอาเชียงใหม่มาให้ จึงโปรดให้พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ผู้น้องโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และได้ชัยชนะ ครั้งนั้นได้จับพระยาแสนหลวง เจ้าเมือง บุตรภรรยา ญาติวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ลาวทั้งหลายเข้ามาถวายสมเด็จพระนารายณ์ ในครั้งนั้น บุตรเจ้าเมือง เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พระนางกุสาวดี  เดิมมีพระนามว่า เจ้านางกุลธิดา) ได้ถูกนำตัวมาถวายเป็นบาทบริจาริกาแก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้พระราชทานนางให้กับพระเพทราชา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมข้าง เป็นชาวบ้านพลูหลวงแขวงเมืองสุพรรณบุรีรับเอาไปเลี้ยงไว้ที่บ้าน ซึ่งขณะนั้นพระนางได้ทรงครรภ์กับสมเด็จพระนารายณ์แล้ว


          ครั้นถึงปีขาล จุลศักราช 1024 (พ.ศ.2205) สมเด็จพระนารายณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระชินราช พระชินสีห์ ที่เมืองพิษณุโลก พระเทพราชาก็พาพระนางกุสาวดีได้ตามเสด็จไปด้วย ซึ่งขณะนั้นได้ตั้งครรภ์แก่ และนางก็ประสูติบุตรชาย พระเพทราชาได้ตั้งชื่อว่า เจ้าเดื่อ และได้เลี้ยงจนเจริญวัย เจ้าเดื่อคิดว่าพระเพทราชารเป็นบิดา ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ได้ฝึกฝนวิชามวยไทยในพระราชสำนัก และได้ออกไปฝึกมวยไทยในสำนักมวยต่างๆ อีกหลายสำนัก จนฝีมือดีเยี่ยม เมื่อเติบใหญ่จึงได้นำตัวไปถวายเป็นมหาดเล็ก พระยศ คือ ขุนหลวงสรศักดิ์ สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระนารายณ์ ทรงมีพระราชดำริจะใคร่ให้เจ้าเดื่อรู้ตัวว่าเป็นพระเจ้าลูกเธอ โดยใช้พระราชอุบายให้ขุนหลวงสรศักดิ์ส่องกระจกร่วมกัน ซึ่งรูปทั้งสองอันปรากฏในกระจกนั้น มีร่างหน้าตาคล้ายคลึงกันทำให้รู้ตัวว่าเป็นพระเจ้าลูกเธอ ตั้งแต่นั้นมา

          ในปีจุลศักราช 1044 (พ.ศ.2225) สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต พระเพทราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ขุนหลวงสรศักดิ์ เป็นพระบรมโอรสาธิราช พระยศที่กรมพระราชวังบวรมงคลสถานเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
          ในจุลศักราช 1065 (พ.ศ.2245) พระเพทราชา ได้เสด็จสวรรคตแล้ววันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1703 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ เดือน 4 ข้าราชการผู้น้อยและผู้ใหญ่ ทั้งฝ่ายทหารพลเรือน และพระสงฆ์ราชาคณะ ได้ประชุมพร้อมกัน ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท อัญเชิญกรมพระราชวังบวรคงคลสถานเสด็จขึ้นราชาภิเษก เป็นเอกอัครบรมราชธิบดินทรปิ่นพิภพจบสกลราชสีมา เสวยมไหสุริยศวรรยาธิปัตต์ถวัลย์ราชสมบัติตามประเพณีสืบศรีสุริยวงศ์ ดำรงราชอาณาจักรกรุงเทพมหานครทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน แล้วถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์สำหรับพระมหากษัตริย์ธิราชเจ้าและการพระราชพิธีทั้งปวงนั้น พร้อมตามอย่างโบราณราชประเพณีเสร็จสิ้นทุกประการ และขณะนั้นเมื่อพระองค์เสด็จเสวยราชสมบัตินั้นพระชนม์ได้สามสิบหกพรรษา ฯลฯ

ดำริถึงภูมิชาติ สมเด็จพระเจ้าเสือ

          จุลศักราชได้ 1063 ปีเถาะ เอกศก (พ.ศ.2242) สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชดำริถึงภูมิชาติแห่งพระองค์ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวงตรัสบอกไว้แต่ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นว่า เมื่อศักราช 1024 ปีขาล อัฐศก (พ.ศ.2205) ในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการ พระพุทธปฏิมากรพระชินราช พระชินสีห์ ณ เมืองพิษณุโลก ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพถวายพุทธสมโภชน์คำรบ 3 วัน ครั้งนั้นได้พาเอาสมเด็จพระพันปีหลวงตามเสด็จขึ้นไปด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระครรภ์แก่ จึงประสูตรพระองค์ที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตรในเดือนอ้าย ปีขาล อัฐศก แล้วจึงเอารกที่สหชาตินั้นใส่ลงในผอบเงิน เอาไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์ประทับช้าง และต้นมะเดื่ออุทุมพรต่อกันนั้น เหตุนั้นจึงได้นามกรชื่อ มะเดื่อ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริระลึกถึงที่ภูมิชาติอันพระองค์ประสูติ ณ แขวงหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นที่มหามงคลถานอันประเสริฐ สมควรจะสร้างขึ้นเป็นพระอารามจึงมีพระราชดำรัสสั่งสมุหนายกให้เกณฑ์กันขึ้นไปสร้างพระอาราม ณ ตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง มีพระอุโบสถ วิหาร มหาธาติเจดีย์ ศาลาการเปรียญและกุฏิสงฆ์พร้อมเสด็จ และสร้างพระอารามนั้นสองปีเศษ จึงจะสำเร็จ ในปีมะเส็ง ตรีศก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จด้วยพระชลวิมานโดยกระบวนนายาพยุห ขึ้นไปพระอารามตำบลโพธิ์ประทับช้าง และท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งขึ้นไปคอยรับเสด็จโดยสถลมารคนั้นก็เป็นอันมาก แล้วทรงพระกรุณาให้มีการฉลอง และมีการมหรสพคำรบสามวัน ทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆ์เป็นอันมาก และทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้างพระไว้สำหรับอุปฐากพระอาราม 200 ครัว และถวายพระอัลปนาขึ้นแก่พระอารามตามธรรมเนียมแล้วทรงพระกรุณาตั้งเจ้าอธิการ ชื่อ พระครูธรรมรูจีราชมุนีอยู่ครองพระอาราม ถวายเครื่องสมณบริขารตามศักดิ์พระราชาคณะแล้วเสร็จ ก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร จำเดิมแต่นั้นมา พระอารามนั้นก็เรียกว่า วัดโพธิ์ประทับช้าง มาตราบเท่าทุกวันนี้

สมเด็จพระเจ้าเสือทรงชกมวยที่บ้านตลาดกรวด
          ในปีจุลศักราช 1064 ปีมะเมีย จัตวาศก (ตรงกับ พ.ศ.2245 ไม่ปรากฏวัน เดือน อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออก ณ ท้องพระโรง จึงมีพระราชโองการตรัสถามข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงว่า ข้างประจันตชนบทประเทศบ้านนอก เขามีการมหรสพงานใหญ่ที่ไหนบ้าง ขณะนั้นข้าราชการผู้มีชื่อคนหนึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้าว่า ณ บ้านประจันตชนบท แขวงเมืองวิเศษชัยชาญเพลาพรุ่งนี้ ชาวบ้านทำการฉลองพระอารามมีการมหรสพงานใหญ่ จึงมีพระราชดำรัสว่า แต่เราเป็นเจ้ามาช้านาน มิได้เล่นมวยปล้ำบ้างเลย แลมือก็หนักเหนื่อยเลื่อยล่าช้าอ่อนไป เพลาพรุ่งนี้เราจะไปสนุกชกมวยลองฝีมือให้สบายใจสักหน่อยหนึ่งเถิด
          ครั้งรุ่งขึ้น จึงเสด็จด้วยพระชลพาหะ แวดล้อมไปด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงไปด้วยลำดับชลมารคถึงตำบลบ้านตลาดกรวด จึงให้หยุดเรือพระที่นั่งเสด็จขึ้นบกในที่นั้นและดำรัสห้ามมิให้ข้าราชการทั้งปวงไปโดยเสด็จพระราชดำเนิน และพระองค์ผลัดพระภูษาแปลงเพศเป็นคนยากเสด็จปลอมไปกับตำรวจมหาดเล็กข้าหลวงเดิมสี่ห้าคนซึ่งเป็นคนสนิทไว้พระทัย มิให้ผู้ใดสงสัย ครั้งไปถึงตำบลซึ่งมีงานใหญ่ฉลองพระอารามนั้น จึงเสด็จพระราชดำเนินด้วยข้าหลวงไปกับคนชาวบ้านทั้งปวงซึ่งเที่ยวดูงานนั้น

ขณะนั้น พอเจ้างานให้เปรียบมวย จึงมีพระราชดำรัสใช้ข้าหลวงไปบอกแก่ผู้เป็นนายสนามว่า บัดนี้ มวยในกรุงออกมาคนหนึ่ง จะเข้ามาเปรียบคู่ชกมวยในสนามท่าน และนายสนามไดยินดังนั้นก็ดีใจ จึงว่าให้เข้ามาเปรียบคู่ พระองค์ จึงเข้าไปในสนาม และนายสนามก็จัดหาคนมวยมีฝีมือจะมาให้เปรียบคู่ เหล่าข้าหลวงจึงห้ามว่า อย่าเอาเข้ามาเปรียบเลยเราเห็นตัวแล้ว จึงให้แต่งตัว นายสนามจึงให้แต่งตัว แต่เมื่อแต่งตัว ทั้งสองฝ่ายแล้ว นายสนามก็ให้ชกกันในกลางสนาม สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและคนมวยนั้นก็เข้าชกซึ่งกันและกน และฝีมือทั้งสองนั้นดีทัดกันพอแลกลำกันได้ มิได้เพลี่ยงพล้ำกันและกำลังนั้นพอก้ำกึ่งกันอยู่ และคนทั้งหลายซึ่งดูนั้นก็สรรเสริญฝีมือทั้งสองฝ่าย และให้เสียงฮาลั่นติดๆ กันไปทุกนัด และคนมวยผู้นั้นบุญน้อย วาสนาก็น้อย และเข้าต่อสู้ด้วยสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้า อันประกอบด้วยบุญญาภิสังขารบารมีมาก และกลัวบุญวาสนานั้นข่มขี่กันอยู่ ครั้นสู้กันไปได้ประมาณกึ่งยกก็หย่อนกำลังลง และเสียทีเพลี่ยงพล้ำถูกที่สำคัญถนัด เจ็บป่วยถึงสาหัสเป็นหลายนัดก็แพ้ด้วยบุญญานุภาพในยกน้ำ จึงนายสนามก็ตกรางวัลให้แก่ผู้ชนะนั้นบาทหนึ่ง ให้แก่ผู้แพ้สองสลึงตามวิสัยบ้านนอก และเหล่าข้าหลวงนั้นรับเอาเงินรางวัล จึงดำรัสให้ข้าหลวงว่าแก่นายสนามให้จัดหาคู่เปรียบอีก และนายสนามก็จัดหาคู่มาได้อีก แล้วก็ชกกันและคนมวยผู้นั้นทานบุญมิได้ ก็แพ้ในกึ่งยก คนทั้งหลายสรรเสริญฝีพระหัตถ์มีไปแล้ว ว่ามวยกรุงคนนี้ฝีมือดียิ่งนัก และนายสนามก็ตกรางวัลให้เหมือนหนหลังนั้น แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ให้ข้าหลวงคืนมาสู่เรือพระที่นั่ง ค่อยสำราญพระราชหฤทัย เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร
          ปัจจุบัน ตำบลบ้านตลาดกรวด ก็คือ ตำบลตลาดกรวด ขึ้นกับอำเภอเมืองอ่างทอง และตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนบ้านประจันตชนบท แขวงเมือวิเศษชัยชาญนั้นก็คือ หมู่บ้านชนบท ที่อยู่นอกพระนครหลวงนั่นเอง มีผู้ให้ความเห็นว่าวัดที่เป็นพระอารารมซึ่งมีการมหรสพในสมัยนั้น อาจจะเป็นวัดโพธิ์ถนน หรือวัดถนนก็ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นวัดร้างตั้งอยู่หลังวัดสุวรรณเสวริยารามไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 1 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่เหลืออยู่ที่วัดนี้ก็คือ พระพุทธรูปศิลาทรายหัก ซึ่งมีอยู่มากมาย มีผู้นำเศียรและองค์พระหักมาไว้ที่วัดสุวรรณ ฯ นี้หลายองค์ วัดนี้เดิมคงอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อดินงอกออกไป จึงทำให้เหมือนว่าวัดนี้ตั้งอยู่กลางทุ่งนาไป และทำให้เป็นวัดร้างในที่สุด

ประวัติการสร้างศาลพระเจ้าเสือ ต.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร


ใครสร้างศาลพระเจ้าเสือ…(สมเด็จพระสรรเพชญที่๘)

    วันนี้ก็ไปพบข้อมูลเก่า ที่เก็บไว้...เป็นจุลสารอนุสรณ์ในงานเปิดศาล พระเจ้าเสือหรือสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๑๘ )ที่ตั้งอยู่ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ที่ข้าพเจ้าได้เก็บและถ่ายเอกสารไว้ เมื่อคราวที่บวชเป็นพระ ในส่วนของต้นฉบับนั้นได้ส่งกลับคืน ทางวัดไปนานแล้วและไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้จะมีอยู่หรือเปล่า เพราะว่าเป็นจุลสารฉบับเล็ก ๆ ซึ่งในปีที่ข้าพเจ้าได้บวชเป็นพระ เกิดน้ำท่วมหนัก แม่น้ำยมล้นฝั่งและกระทั่งต้องพายเรือออกบิณฑบาตรเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลเก่า ๆ นั้นไม่ได้รับการเหลียวแลหรือสนใจเลย ถูกโยนลงทิ้งน้ำเป็นอันมาก มีหนังสือบางเล่ม บางส่วน ที่ข้าพเจ้าได้เก็บมาซ่อมแซม และข้าพเจ้าก็ได้ศึกษา ความรู้เกี่ยวกับธรรมะ ที่เป็นหนังสือเก่า จาก ท่าน พอ.ปิ่น มุทุกัณฑ์ ที่เป็นอธิบดีกรมการศาสนาในสมัยนั้นก็มีมากก็ไม่ได้หมายความว่า ในปัจจุบัน ข้าพเจ้าจะมีอายุมากมายเท่าใดหรอกนะ เพียงแต่ได้อ่านหนังสือเก่า ๆรุ่นนั้น ที่เหลืออยู่ให้อ่านให้ศึกษา เท่านั้นเอง กระนั้นก็ตามแม้ว่า จะเป็นจุลสารขนาดเล็ก แต่ก็นับว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความเป็นมาและการปั้นรูปปั้นพระเจ้าเสือที่ประดิษฐานอยู่ และการสร้างศาล ตั้งแต่ เมื่อครั้งปี พศ.๒๕๑๗ ก็จึงนำมาเผยแพร่ให้ได้ทราบกันหรือหากว่าท่านได้ไป จังหวัดพิจิตรละก็ อย่าลืมแวะไปอำเภอโพธิ์ประทับช้าง วัดโพธิ์ประทับช้าง เพื่อ นมัสการรูปปั้นพระเจ้าเสือ ซึ่งท่านประสูติที่นี่ ...และที่ท่านมีมหาดเล็กที่เรารู้จักกันดี คือ “พันท้ายนรสิงห์ “ นั่นเองหากท่านต้องการเก็บข้อมูลไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงก็ขอให้ สำเนาเก็บไว้ได้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป...….สำหรับข้อมูลที่ได้นำเสนอลงไปนี้ ไม่มีการตัดตอน หรือต่อเติมใดๆ ทั้งสิ้น.....ดังนี้

           ใครสร้างศาลพระเจ้าเสือ ตั้งแต่ บ้านโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดพระเจ้าแผ่นดินอันทรงพระนามว่า “พระสรรเพชญที่ ๘” (พระเจ้าเสือ) ได้ทิ้งเป็นเมืองร้างมาประมาณ 200 ปีเศษ ต่อมาราวปี พศ.2485 (ปีน้ำมาก) ได้มีประชาชนบุกไปบุกร้างถางพง ทำพืชไร่ ในบริเวณโบราณสถานมากขึ้น ในปี พศ.2510 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้รับอนุมัติให้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง และทำพิธีเปิดเป็นสถานที่ราชการ เมื่อ พศ.2510 ในปีเดียวกัน นาย สัญญา ทิพานันท์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้พิจารณาเห็นว่า ที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อยู่ ห่างจากโบราณสถานและสถานที่ประสูติของพระเจ้าเสือ ประมาณ 4 กิโลเมตร ยากแก่การที่จะเบิกตัวผู้ประสงค์จะเข้าเฝ้าสักการะดวงพระวิญญ าณพระเจ้าเสือ จึงได้ร่วมกันจัดแห่เป็นกระบวนเอิกเกริก ออกไปอัญเชิญดวงพระวิญญาณของพระเจ้าเสือ มาสถิตหน้าพระลานหน้าที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ตามคำบอกเล่าของผู้ไปกับขบวนแห่ขบวนนั้น “ได้พบพญางูเหลือมตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่” นาย สัญญา ทิพานันท์ จึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ ถ้าหากดวงพระวิญญาณของพระองค์ ทรงสำแดงให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งมวลประจักษ์แก่สายตาแล้ว ขอให้สถิตบนผ้าทิพย์ และขออัญเชิญไปยังศาลซึ่งข้าพระพุทธเจ้าเตรียมรอรับเสด็จไว้ พญางูเหลือมดังกล่าวก็สถิตบนผ้าทิพย์” คณะขบวนแห่ก็อัญเชิญมาจนกระทั่งถึงศาลพระเจ้าเสือหลังเดิม และทำความชื่นชมโสมนัสให้แก่อาณาประชาราษฎร์อำเภอโพธิ์ประทับ ช้างเป็นสุด ซึ้ง ชั่ววันหนึ่งและคืนหนึ่งเรือนร่างพญางูเหลือมก็หายไป คงประจักษ์อยู่แต่ศาลเพียงตาสืบต่อกันมาเป็นเวลา 7 ปีเศษ ได้มีประชาราษฎร์ของพระองค์มาบนบานศาลกล่าวและบวงสรวงอยู่เป็ นเนืองนิตย์มิ ได้ขาด เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2516 กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้างได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหว ัดพิจิตร ทางราชการได้แต่งตั้ง นายมณฑล ปรีชาธีรศาสตร์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ จัดงานเฉลิมฉลองพระชนม์พรรษาในหลวง รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2516 ในปีนั้นเอง องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้งดการเฉลิมฉลองเนื่องจากน้ำ มันแพง คณะกรรมการจึงได้นำรายได้ที่เหลือจ่ายทั้งหมด มาสมทบทุนสร้างศาลกับทุนเดิม ซึ่ง นายสุนทร พุ่มบัว สมุห์บัญชีอำเภอรวบรวมและเก็บรักษาไว้ มอบให้ ร.ต.อ. ศิลปชัย ฉายแสง รับเป็นแม่งานดำเนินการแทนต่อไป จาก แถลงการณ์ทางวาจาของ ร.ต.อ. ศิลปะชัย ฉายแสง ต่อหน้าที่ประชุมใหญ่ว่า ตนเองขอรับที่จะสนองเบื้องยุคลบาทในดวงพระวิญญาณตามความสามาร ถ และจะพยายามจัดหาช่างสร้างศาลให้เสร็จก่อนจะย้ายไปจากอำเภอโพ ธิ์ประทับช้าง

ทุนเริ่มแรกระยะที่ 1

            ทุนเดิมซึ่งได้จากสรงน้ำหลวงพ่อโต 3,634.00 บาทรายได้จากงานเฉลิม ฯ รัชกาลที่ 9 385.- บาทนายจุล นางศิระ หนูทวน บริจาค 100.- บาท ทุนเพียง 4,119.00 บาท นับได้ว่าทำความหนักใจให้กับ ร.ต.อ. ศิลปชัย ฉายแสง เป็นอย่างมาก แต่ด้วยความอุตสาหะ วิริยะ ประกอบกับความตั้งใจจริง จึงได้ให้ฝ่าย พราหมณาจารย์ ทำการตรวจฤกษ์ ดูดวงชะตา และกำหนดวันเวลา วางศิลาฤกษ์ขึ้น ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2517 เวลา 08.00 น.

ทุนดำเนินการในระยะที่ 2 หลังจากได้วางศิลาฤกษ์แล้ว เป็นอันว่าพวกเราทั้งมวลต้อง ศาลถวายแด่พระเจ้าเสือแน่ จึงมีผู้บริจาคเพิ่มเติมดังนี้

        1.นายอเนก จันทร์ประเสริฐ บ้านทุ่งโพธิ์ กับร้านศรีสว่าง ตะพานหิน 1,000.00 บาท

        2.จ.ส.ต.ประเทือง จุ้ยสกุลกับพวก 9,800.00 บาท

        3.นายสัมพันธ์ วีระนันท์วัฒนะ ไผ่ท่าโพกลาง 5,000.00 บาท

        4.นายธงชัย นุกูลกิจเสรี ไผ่ท่าโพกลาง 4,000.00 บาท5.โรงสีสหไทย ไผ่ท่าโพกลาง 2,000.00 บาท

        6.ร้านจิ๊บฮะ ตลาดไผ่ท่าโพเหนือ 1000.00 บาท

        7.นายเชี้ยงบุ้ง แซ่จึง ไผ่ท่าโพกลาง 1,000.00 บาท

        8.นายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร 1,000.00 บาท

        9.โรงสีข้าวฮะเฮง ไผ่ท่าโพกลาง 1,000.00 บาท

      10.นายพยนต์ หมื่นสุวรรณ บ้านท่าบัวทอง 1,000.00 บาท

      11.โรงสีท่าบัวทอง ต.โพธิ์ประทับช้าง 1,000.00 บาท

      12.นายสุธีร์ ศรีเบญจโชติ ตะพานหิน 1,000.00 บาท

      13.นายเซี่ยมเฮง นางกิมฮวย แซ่ตั้ง 800.00 บาท

ทุนดำเนินการระยะที่ 3

             ศาลพระเจ้าเสือได้สร้างเสร็จไปแล้ว ผู้สัญจรไปมาได้แวะมาบูชาศาลอยู่เป็นเนืองนิตย์ แต่ทำความสงสัยให้แก่ผู้มาแวะชมศาลเป็นอย่างมากกว่า พระเจ้าเสือทรงมีพระสิริโฉมเป็นอย่างไร ทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในเขตบ้านโพธิ์ประทับช้างก็เล่าว่ามี “รูปร่างเหมือนพระนารายณ์มหาราช” ร.ต.อ.ศิลปชัย ฉายแสง แม่ งานต้องออกไปติดต่อ จิตรกรเอกหลายท่าน ให้มาออกแบบพระรูป จนเป็นที่ยอมรับกันว่า พระสิริโฉมดังพระรูปที่ประดิษฐ์อยู่ ณ ศาลพระเจ้าเสือแน่นอน พอได้ ศุภฤกษ์ จึงอัญเชิญพระคณาจารย์ใหญ่แห่งยุคเกจิอาจารย์ มากระทำการเชิญดวงวิญญาณเข้าสิงสถิตในดวง พระหทัย พร้อมด้วยเครื่องบัดพลีถูกต้อง ตามพระคัมภีร์ไสยศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 จากนั้นพระรูปก็ปรากฏขึ้นโดยความร่วมมือของ

        1.นายพยนต์ หมื่นสุวรรณ บริจาค 1,334 บาท

        2.จ.ส.ต. ประเทือง จุ้ยสกุล ” 1,333 บาท

        3.นายสุธีร์ เมธาวัชรินทร์ ” 1,333 บาท

            เมื่อพระรูปสำเร็จเต็มพระองค์แล้ว จึงได้นำดวงพระหทัยบรรจุในพระอุระเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2517 ณ วันนี้ถือว่าองค์พระรูปพระสรรเพชญที่ 8(พระเจ้าเสือ) ซึ่งปรากฏอยู่นี้ มีพระสิริโฉมดังพระองค์จริงทุกประการ

            ใน กาลต่อมาด้วยเดชะอำนาจพระบารมี ยังผลให้อาณาประชาราษฎร์ที่เคยรำลึกถึงพระองค์ท่าน มีเจตนาแรงกล้าที่จะถวายเครื่องราชบรรณาการ ประกอบด้วย พญาเสือเหลือง อันเป็นพระราชชันษาประจำพระองค์ และช้างทรงคู่บารมีเป็นอาทิ

รายชื่อผู้อุทิศถวาย

           1.นายครอบ มิ่งมณีและภรรยาถวายช้างทรงราคา 5,000.00 บาท

           2.นายน้อย มิ่งมณี และภรรยาถวายพญาเสือเหลือง ราคา 2,000.00 บาท

บุคคลที่ไม่ควรลืม...?

         สุเชษฐ์ พลวัน ออกแบบศาลมิใช่ย่อย เพราะเคยทำมาบ่อยจึงค่อยสมประสงค์ อู๋ จันทร์สุขวงศ์ เป็นกำนันคนตรงบ้านไผ่ท่าโพ ได้เกรดบริเวณศาล เพื่อจัดงานให้โก้เก๋ เทิ้ม เมืองทอง ช่วยไตร่ตรองมองของโชว์ จัดภาพยนตร์ดนตรีของเขาดีมิใช่โม้ แสวง ผะอบเหล็ก ใครว่าเล็กแต่ท่าน ป.โท วางแผนผังงานทุกๆด้านได้สวยโก้ เสริมศักดิ์ อิทธะรงค์ เราท่านอย่า งง คือคนไผ่ท่าโพ ผู้ปั้นรูปพระเจ้าเสือ หรือดอกเดื่อของเราชาวโพธิ์ประทับช้างเราใหญ่โต ในศาลอ่าโอ่โชว์ฝีมือ สร้อย เขียวขำ ใครว่าช้ำ ๆ แต่เนื้อ อาหารทำไม่เบื่อ ชอบช่วยเหลือเมื่อมีงาน ดาว เทียมศร ก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่า สร้อย เขียวขำ ข้าวสวย ข้าวต้ม หรือส้มตำ เป็นผู้นำในท่าบัวทอง จุล หนูทวน ไม่เรรวนทำได้ ๆไม่ว่างานอะไรเล็กหรือใหญ่ได้ทันที ทุกอย่างวางได้หรู เพราะเป็นครูมาหลายปี ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน ชอบกล่าวขาน ท่านผู้นี้ อำเภอเรามีคนดี จึงเป็นศรีแด่พระองค์ ปัญญา จูประเสริฐ ผลงานเลิศ ช่วยทางตรง เกรดบริเวณอีกสองชั่วโมง เพื่อชักโยงชนประชา ขอท่านจงมีสุขอยาได้ทุกข์เวทนา ปราศจากซึ่งโรคา จะปรารถนาสิ่งอันใด ขอจงดำรงศักดิ์ เทวาพิทักษ์รอบเรือนกาย จงสุขและสบาย พ้นอันตรายภัยทั้งปวง ประเพณี 3 เดือน

จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ บ้านโพธิ์ประทับช้าง ข้าราชการทหารและตำรวจ จนเป็นที่ยอมรับกันว่า ประเพณี 3เดือน จะขาดกันเสียมิได้

              1. ในเดือน 5ทุกปี ทางตำรวจ สภ.อ. โพธิ์ประทับช้าง จะ เป็นแม่งานจัดน้ำสรง และห่มผ้าพระจากศาลพระเจ้าเสือ เข้ากระบวนแห่ไปสรงน้ำและห่มผ้าพระหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าเสือทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ในกระบวนแห่ที่เคยปรากฏ จะมีพ่อค้าประชาชนเกือบทุกตำบลไปร่วมด้วย โดยไม่ต้องนัดหมาย

              2. ใน เดือน 12 หลังจากลาพรรษาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดท่าบัวทอง ร่วมกับตำรวจและทางอำเภอ จะได้จัดให้มีการแข่งเรือและประกวดการเห่เรือถวาย ณ ลำน้ำยมระหว่างวัดท่าบัวทองกับศาลพระเจ้าเสือ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระราชประวัติของพระองค์ ซึ่งทรงโปรดเรือเอกชัยไปทรงเบ็ดตั้งแต่ครั้งอดีต อันมีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้ายเรือคู่พระทัย

อภินิหารพระเจ้าเสือ  สั้นๆ....

1.ดวงพะวิญญาณปาฏิหารย์ให้เห็นเป็นพญางูเหลือม และอัญเชิญ มาประดิษฐาน ณ ศาลหลังเดิม

นายสัญญา พิทานันท์ ประสบเหตุ...ฯลฯ

2.ฉายรัศมีเป็นลำแสงออกจากภาพวาดเก่าแก่ประจำบ้านพักนายอำเภอ ทอดแสงออกทางประตูด้านใต้

นาย จุล หนูทวน มาพักค้างคืน ประสบเหตุ...ฯลฯ

3.เมื่อ ฝนตกหนักคราวอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่น 969 ประธานจัดงานอธิษฐานขอให้ฝนหยุด ( ภายใน 15 นาทีแดดออกจ้า )ลงสนามจับมือร้องไห้อำลากันอย่างสบาย

นายเลิศ สันติพิทักษ์ ประสบเหตุ...ฯลฯ

4.นายจุล หนูทวน คล้องเหรียญ พระเจ้าเสือ ขับรถหักหลบคนแก่ รถตกหลุมยับเยิน คนกระเด็นออกจากรถประมาณวาครึ่ง ลุกเดินไปกินข้าวต้มได้อย่างสบาย ไม่มีบาดแผล

นายดิเรก อยู่สุข นายอเนก สังขกุล ประสบเหตุ...ฯลฯ

5.โจรปล้นที่บ้านห้วยตะพาน คณะตำรวจผู้ติดตามคนร้าย พกไปแค่ใบจองเหรียญที่พุทธาภิเษกแล้วเท่านั้น ถูกคนร้ายขว้างด้วยระเบิดมือ ระเบิดไม่แตกตำรวจปลอดภัย

ร.ต.อ.เฉลิม สังข์ทอง ประสบเหตุ

6.เด็กชายวัย 13 ขวบ บังอาจไปหยิบพวงมาลัยแก้บน ที่แขวนอยู่ที่ปลายดาบไปเล่น เกิดอาการจุกเสียด ชักตาตั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อคนแก่ให้เอาพวงมาลัยไปคืนที่เก่า ก็หายเป็นปกติไม่ต้องกินยา นายเสริมศักดิ์ อิทธะรงค์ ประสบเหตุ...ฯลฯ

7.ระหว่างดำเนินการปั้นพระรูป บันดาลให้นายช่างผู้เป็นจิตรกรถูกหวยหลายครั้ง

นายเสริมศักดิ์ อิทธะรงค์ ประสบเหตุ...ฯลฯ

8.วันมหาพุทธาภิเษกเหรียญที่ระลึก เกจิอาจารย์ชุดใหญ่แห่งเมืองพิจิตรมานั่งปรกบริกรรม ครบทุกรูป ทั้งๆที่ฝนตกติดต่อกัน 3วัน 3 คืน นับ ว่าเป็น ศิริมงคลจริง ๆ คุณไสว ประธานจุดเทียนในพิธี ท่านก็นามสกุล “ศิริมงคล” จึงบันดาลให้เหรียญพุทธาภิเษกเป็นมหามงคล ทุกคนควรมีไว้ประจำตัว 

…………………………………………..

ข้อมูล หรือรายละเอียดดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลของปี ๒๕๑๘ จากจุลสาร งานเลี้ยงเปิดศาลพระเจ้าเสือหลังเดิมซึ่งในปัจจุบันนี้

หากท่านไปจะพบศาล พระเจ้าเสือหลังใหม่ แทนที่หลังเดิม ก็ได้ริเริ่มและอำนวยการโดย นายปราโมทย์ แก้ววิเชียร นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง อยู่ริมแม่น้ำยม หน้าสถานที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างมาแทนที่หลังเก่า แต่ รูปปั้นองค์ท่านนั้น ยังเป็นพระองค์เดิม และยังมีศาลกับรูปปั้นสัมฤทธิ์ ที่หน้าวัดโพธิ์ประทับช้าง ห่างออกไปอีกราว 4 กิโลเมตร

ริมแม่น้ำพิจิตรเก่า ก็มีอีกแห่งหนึ่ง ตั้งประดิษฐานอยู่ เช่นกัน ในส่วนนี้ ซึ่งประวัติพระเจ้าเสือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘......แต่จะเอ่ยในคราวถัดไป..

ในช่วงระหว่างวันที่ 23 – 31 ธันวาคม 2552 อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้จัดงานวันเทิดพระเกียรติ “พระเจ้าเสือ” ขึ้น โดยภายในงานจะจัดให้มีการแสดงตำนานพระเจ้าเสือและมีกีฬา ชกมวย และกีฬาชนไก่ รวม ถึงการแสดงสินค้าพื้นบ้านและจำลองวิถีชีวิตชาวจังหวัดพิจิ ตรในอดีตกาลขึ้น อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็น การส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และเป็นการทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณขององค์พระกษัตริย์ผู้ที ่สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาวไทย อีกด้วย โดยงานนี้จะจัดอย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้คนไทยรำลึกถึงบุญคุณของสถา บันพระมหากษัตริย์ ....ที่ถือได้ว่าเป็นหลักนำชัยให้พสกนิกรชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุข สืบตลอดมา....
ศาลสมเด็จพระเจ้าเสือ จ.พิจิตร

แผนที่และการเดินทาง


***********************
www.oknation.net